ขั้นตอนงานก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน
ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
bullet- ความรู้เรื่องบ้าน
bulletปฏิทินฤกษ์ดีสร้างบ้าน2024
bullet - หลังคาบ้าน
bullet- วิธีเลือกบริษัทรับสร้างบ้าน
bullet- การรื้อถอน
bullet- รู้ทันช่าง รับสร้างบ้าน
bullet- สร้างบ้านงบไม่บานปลาย
bullet- วิธีเลือกแบบบ้าน
bullet- 10ข้อดีสร้างบ้านกับเรา
bullet- พิธีตั้งเสาเอก
bullet- ขั้นตอนงานก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน
bullet- เทคนิคบ้านประหยัดพลังงาน
bullet- ฮวงจุ้ยดีดี
bullet- เรื่องน่ารู้เรื่องสร้างบ้าน
bullet- ระยะร่น ระยะเว้น
dot
dot
bullet1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ
bullet1 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ
bullet2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ
bullet5 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet5 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet5 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
bullet5 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ
bullet5 ห้องนอน 7 ห้องน้ำ
bullet6 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet6 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet6 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
dot
dot
bullet- รวมแบบบ้าน D-1 - D-5
bullet- รวมแบบบ้าน D-6 - D-10
bullet- รวมแบบบ้าน D-11 - D-15p
bullet- รวมแบบบ้าน D-16 - D-20
bullet- รวมแบบบ้าน D-21 - D-25
bullet- รวมแบบบ้าน D-26 - D-30
bullet- รวมแบบบ้าน D-31 - D-35
bullet- รวมแบบบ้าน D-36 - D-40
bullet- รวมแบบบ้าน D-41 - D-45
bullet- รวมแบบบ้าน D-46 - D-50
bullet- รวมแบบบ้าน D-51 - D-55
bullet- รวมแบบบ้าน D-56 - D-60
bullet- รวมแบบบ้าน D-61 - D-65
bullet- รวมแบบบ้าน D-66 - D-70S
bullet- รวมแบบบ้าน D-71 - D-75
bullet- รวมแบบบ้าน D-76 - D-80
bullet- รวมแบบบ้าน D-81 - D-85
bullet- รวมแบบบ้าน D-86 - D-90
bullet- รวมแบบบ้าน D-91 - D-95
bullet- รวมแบบบ้าน D-96 - D-100
bullet- รวมแบบบ้าน D-101 - D-105
bullet- รวมแบบบ้าน D-106 - D-110
bullet- รวมแบบบ้าน D-111 - D-115
bullet- รวมแบบบ้าน D-116 - D-120
bullet- รวมแบบบ้าน D-121 - D-125
bullet- รวมแบบบ้าน D-126 - D-130
bullet- รวมแบบบ้าน D-131 - D-135
bullet- รวมแบบบ้าน D-136 - D-140
bullet- รวมแบบบ้าน D-141 - D-145
bullet- รวมแบบบ้าน D-146 - D-150
bullet- รวมแบบบ้าน D-151 - D-155
bullet- รวมแบบบ้าน D-156 - D-160
bullet- รวมแบบบ้าน D-161 - D-165
bullet- รวมแบบบ้าน D-166 - D-170
bullet- รวมแบบบ้าน D-171 - D-175
bullet- รวมแบบบ้าน D-176 - D-180
bullet- รวมแบบบ้าน D-181 - D-185
bullet- รวมแบบบ้าน D-186 - D-190
bullet- รวมแบบบ้าน D-191 - D-195
bullet- รวมแบบบ้าน D-196 - D-200
bullet- รวมแบบบ้าน D-201 - D-205
bullet- รวมแบบบ้าน D-206 - D-210
bullet- รวมแบบบ้าน D-211 - D-215
bullet- รวมแบบบ้าน D-216 - D-220
bullet- รวมแบบบ้าน D-221 - D-225
bullet- รวมแบบบ้าน D-226 - D-230
dot
dot
bullet- รวมแบบบ้าน ST-01 - ST-05
bullet- รวมแบบบ้าน ST-06 - ST-10
bullet- รวมแบบบ้าน ST-11 - ST-15
bullet- รวมแบบบ้าน ST-16 - ST-20
bullet- รวมแบบบ้าน ST-21 - ST-25
bullet- รวมแบบบ้าน ST-26 - ST-30
bullet- รวมแบบบ้าน ST-31 - ST-35
bullet- รวมแบบบ้าน ST-36 - ST-40
bullet- รวมแบบบ้าน ST-41 - ST-45
bullet- รวมแบบบ้าน ST-46 - ST-50
bullet- รวมแบบบ้าน ST-51 - ST-55
dot
dot
bullet- รวบแบบบ้าน F-2 - F-7
bullet- รวบแบบบ้าน A-01 - A-05
bullet- รวบแบบบ้าน A-06 - A-10p
bullet- รวบแบบบ้าน A-11 - A-15
bullet- รวบแบบบ้าน A-16 - A-20
bullet- รวบแบบบ้าน A-21 - A-25
bullet- รวบแบบบ้าน A-26 - A-30s
bullet- รวบแบบบ้าน A-31 - A-35
bullet- รวบแบบบ้าน A-36 - A-40
bullet- รวบแบบบ้าน A-41 - A-45
bullet- รวบแบบบ้าน A-46 - A-50
bullet- รวบแบบบ้าน A-51 - A-55
bullet- รวบแบบบ้าน A-56 - A-60
bullet- รวบแบบบ้าน A-61 - A-65
bullet- รวบแบบบ้าน A-66 - A-70
bullet- รวบแบบบ้าน A-71 - A-75
bullet- รวบแบบบ้าน A-76 - A-80
bullet- รวบแบบบ้าน A-81 - A-85
bullet- รวบแบบบ้าน A-86 - A-90
bullet- รวบแบบบ้าน A-91 - A-95
bullet- รวบแบบบ้าน A-96 - A-100
bullet- รวบแบบบ้าน A-101 - A-105
bullet- รวบแบบบ้าน A-106 - A-110
bullet- รวบแบบบ้าน A-111 - A-115
bullet- รวบแบบบ้าน A-116 - A-120
bullet- รวบแบบบ้าน A-220 - A-225
bullet- รวบแบบบ้าน A-226 - A-230
bullet- รวบแบบบ้าน A-231 - A-235
bullet- รวบแบบบ้าน A-236 - A-240
bullet- รวบแบบบ้าน A-241 - A-245
bullet- รวบแบบบ้าน A-246 - A-250
bullet- รวบแบบบ้าน A-251 - A-255
bullet- รวบแบบบ้าน A-256 - A-260
bullet- รวบแบบบ้าน A-261 - A-265
bullet- รวบแบบบ้าน A-266 - A-270
bullet- รวมแบบบ้าน A-271 - A-275
bullet- รวมแบบบ้าน A-276 - A-280
bullet- รวมแบบบ้าน A-281 - A-285
dot
แบบบ้านชั้นเดียว,แบบบ้าน,แบบบ้านโมเดิร์น,บ้าน,บ้านราคาถูก,รับสร้างบ้าน,สร้างบ้านงยน้อย,บ้านลอฟท์,รีวิวสร้างบ้าน,บ้านสองชั้น
dot
bullet-แบบบ้าน NEW-1 - NEW-5
bullet-แบบบ้าน NEW-6 - NEW-10
bullet-แบบบ้าน NEW-11 - NEW-15
bullet-แบบบ้าน NEW-16 - NEW-20
bullet-แบบบ้าน NEW-21 - NEW-25
bullet-แบบบ้าน NEW-26 - NEW-30
bullet-แบบบ้าน NEW-31 - NEW-35
bullet-แบบบ้าน MUJI-01 - MUJI-03
dot
dot
bullet-แบบบ้าน NORDIC 1 - 5
bullet-แบบบ้าน NORDIC 6 - 10
bullet-แบบบ้าน NORDIC 11 - 15
bullet-แบบบ้าน NORDIC 16 - 20
bullet-แบบบ้าน NORDIC 21 - 25
bullet-แบบบ้าน NORDIC 26 - 30
bullet-แบบบ้าน NORDIC 31 - 35
bullet-แบบบ้าน NORDIC 36 - 40
bullet-แบบบ้าน NORDIC 41 - 45
bullet-แบบบ้าน NORDIC 46 - 50
bullet-แบบบ้าน NORDIC 51 - 55
bullet-แบบบ้าน NORDIC 56 - 60
dot
dot
bulletรวมแบบบ้าน 3 ชั้น
bulletรวมแบบอพาร์ทเม้นท์
bulletรวมแบบOffice
bulletรวมแบบร้านอาหาร ร้านกาแฟ
dot
dot
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-01
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-02
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-03
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-04
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-05
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-06
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-07
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-09
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-10
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-11
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-12
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-13
bulletแบบบ้านคฤหาสน์ KK-14
dot
dot
bullet-ไทยประยุกต์ 1 - 5
bullet-ไทยประยุกต์ 6 - 10
bullet-ไทยประยุกต์ 11 - 15
bullet-ไทยประยุกต์ 16 - 20
bullet-ไทยประยุกต์ 21 - 25
bullet-ไทยประยุกต์ 26 - 30
bullet-ไทยประยุกต์ 31 - 35
bullet-ไทยประยุกต์ 36 - 40
bullet-ไทยประยุกต์ 41 - 45


สร้างสุขใจ ใส่ใจในการสร้างบ้าน
โอ.เอ็ม.โฮม รับสร้างบ้าน
โครงการหมู่บ้านฐิติมญชุ์
สนับสนุนคนไทยฟังธรรม


ขั้นตอนงานก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน

ขั้นตอนงานก่อสร้าง

 งานโครงสร้าง


งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก อันได้แก่ การลงเสาเข็ม และ การหล่อ ตอม่อ เพื่อรองรับโครงสร้างของเสา และคานที่จะต้องทำ อย่างต่อเนื่องเป็นขั้น ตอนถัดไป หลังจากนั้น ก็จะเป็นงานโครงสร้างของ พื้นและบันไดซึ่งจะต้องเชื่อมต่อ กับเสาและ คาน ที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้น จะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบนเพื่อความสะดวก ในการทำงาน และการลำเลียงวัสดุต่อจากนั้น ก็จะเป็นงานโครงสร้างของหลังคา ซึ่งในปัจจุบันส่วน ใหญ่มักจะทำเป็น โครงเหล็กโดยเชื่อมต่อกับ เสาและคานชั้นบนสุด หลังจากการทำโครงหลังคา อันเป็น งานโครงสร้าง ส่วนสุดท้าย ของตัวบ้านแล้ว ก็มักจะต่อด้วย การมุงหลังคาเลย เพื่อทำหน้าที่คุ้ม แดดคุ้มฝนให้แก่ ตัวบ้านซึ่งจะสร้าง ในลำดับถัดไป นอกจากนี้ ยังมี งานโครงสร้างของรั้ว ซึ่งอาจจะ ทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้าง ของตัวบ้านก็ได้แล้ว แต่กำลังคนและ ความสะดวก เนื่องจาก เป็นส่วนที่ แยกจากตัวบ้าน แต่ถ้าเป็น บ้านที่มีเนื้อที่จำกัด จำเป็นต้อง สร้างตัวบ้านให้ชิดกับรั้ว ก็มักจะทำรั้วภายหลัง เพื่อความสะดวก ในการจัดวาง และลำเลียง วัสดุก่อสร้าง ในระหว่าง การก่อสร้างตัวบ้าน

ในขั้นตอนของ งานโครงสร้างนี้มีข้อสังเกตบางอย่าง กล่าวคือ อาจมีงานหรือขั้นตอนอื่น ที่จะต้องทำ หรือเตรียมการในช่วงจังหวะนี้ ที่พบเห็นกันบ่อย และถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านทั่วไป นั่นคือการฉีดยาป้องกันปลวก ไม่ว่าจะใช้ระบบการวางท่อน้ำยาหรือใช้ระบบการฉีดยาให้ซึมลงไป ในดินโดยตรง จะต้องทำก่อนการทำพื้นชั้นล่างของตัวบ้าน โดยเฉพาะระบบการวางท่อน้ำยาซึ่งจะ ต้องเดินท่อโดยยึดกับคานคอดิน เพราะหลังจากทำพื้นชั้นล่างแล้ว จะไม่สามารถเดินท่อได้เลย ถ้าจะ คิดทำในภายหลังจะทำได้อย่างมากก็เป็น การเจาะพื้นแล้วฉีดน้ำยา ลงไปบนผิวดินด้างล่าง ซึ่งอาจก่อ ให้เกิดความเสียหาย ไม่สวยงาม และได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
อีกจุดหนึ่งที่ต้องระวังก็คือ การวางตำแหน่ง และการเดินท่อประปา เนื่องจากในปัจจุบัน บ้านส่วนใหญ่นิยมเดินท่อประปา ระบบฝังใต้พื้นเพื่อความสวยงาม ดังนั้นก่อนการเทพื้นจะต้องแน่ ใจว่าการวางแนวท่อต่างๆ ทำไว้อย่างเรียบร้อย และสอดคล้อง กับตำแหน่งของก๊อกน้ำต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ หรือถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข อย่างไรก็ต้องรีบทำ ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะทำการ เทพื้นกลบแนวท่อ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้น การแก้ไขจะทำได้ลำบาก
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการมุงหลังคาก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องเตรียมการในกรณีที่ต้องการติดตั้ง วัสดุป้องกันความร้อนใต้กระเบื้องหลังคา ก็จะต้องกำหนดไว้ก่อนและทำไปพร้อม ๆ กับขั้นตอนของ การมุงหลังคาเลย


--------------------------------------------------------------------------------

 งานปรับระดับดิน
ก่อนการก่อสร้างบ้านจะต้องมีการปรับที่ดินให้มีความเหมาะสม โดยการถมและขุด หรือบางทีอาจจะใช้ทั้ง การถมและการขุดไปด้วยกัน เช่น การขุดเพื่อทำสระน้ำ, สระว่ายน้ำ, แล้วนำที่ดินที่เหลือ จากการขุดไปถม ในส่วนที่จะทำ การก่อสร้างบ้าน ให้สูงขึ้นเป็นเนิน เป็นต้น
การถมดิน

การถมดินในหน้าฝนนั้นเป็นงานอย่างหนึ่งที่ฝนพอจะมีประโยชน์ในงานการก่อสร้าง หรือจะให้ดียิ่งไปกว่านั้น ก็ควรจะเป็นช่วงก่อน หน้าฝนซักหน่อย ฝนที่ตกลงมาจะช่วยทำให้ดินที่ถมลงไปนั้นอัดแน่นขึ้น ในส่วนของการถมดินเองแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1.การถมแบบอัด คือการถมดินไปทีละชั้น มีความหนาชั้นละประมาณ ๒๐ - ๕๐ ซม. ขึ้นอยู่กับลักษณะดิน และการกำหนด ของผู้ออกแบบ แล้วก็บดอัดให้แน่นทีละชั้น หมดไปชั้นหนึ่งค่อยถมดินต่อ แล้วก็บดอัดอีก ทำแบบนี้จนกว่า จะได้ระดับตามที่เรา ต้องการ การถมแบบนี้จะได้ดินที่อัดแน่นดี มีการทรุดตัวน้อย

2.การถมแบบไม่อัด คือถมให้เต็มไปหมดทั้งพื้นที่ในคราวเดียว แล้วก็ค่อยบดอัดเฉพาะด้านหน้าผิวดิน การถมลักษณะนี้ ใช้ในการ ถมดินที่ไม่ต้องการความสูงมากนัก เพราะถ้าเป็นการถมค่อนข้างลึกเกินกว่า ๑.๐๐ เมตร การถมแบบไม่อัดนี้ มักจะมีปัญหา การทรุดตัว เป็นหลุมเป็นบ่อให้เห็นทีหลังได้ แต่ในการก่อสร้างบ้านนั้น โดยทั่วไปเกือบจะทั้งหมด ของโครงสร้างบ้าน จะถ่ายน้ำหนัก บน ฐานราก มีเสาเข็มเป็นส่วนรับน้ำหนัก และถ่ายน้ำหนักลงชั้นดิน ซึ่งสามารถ ตอกเข็มลึกลงไปจาก ชั้นผิวดินเดิมได้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับ ระยะเวลา ที่เราถมดินใหม่ หรือต้องรอให้ดินทรุดตัว อัดแน่นเสียก่อน เว้นแต่เป็นโครงสร้างแบบบ้านแผ่ หรือในส่วนของอาคารที่ถูก ออกแบบ ให้วาง และถ่ายน้ำหนัก โดยตรงลงบนพื้น (Slab on Ground) เช่นโรงรถหรือถนน, ทางเท้า ซึ่งจำเป็นต้องมีการบดอัดดินที่ถม ให้แน่น จนแน่ใจว่า ไม่มีการทรุดตัวเสียก่อน จึงจะลงมือก่อสร้าง และถ้ารักจะปลูกต้นไม้ใหญ่ๆ ที่มีรากชอนไชลงไปลึก ๆ ก็ต้องพยายาม ถมดินมากกว่าถมทรายขี้เป็ด อาจถมยากหน่อย ทรุดตัวมากหน่อย ถ้ามีเวลารอก็จะคุ้ม แต่ถ้าไม่ต้องการปลูกต้นไม้ใหญ่ ๆ อาจจะเลือกถมดินในส่วนผิวหน้าก็พอ ในส่วนของดินที่ต้องการ ปลูกต้นไม้ นั้นถ้าเป็นไปได้ควร เลือกใช้ดินที่มีสีออกคล้ำ ๆ ที่เรียกว่า หน้าดิน เพราะเป็นดินที่มีฮิวมัสและบรรดาแร่ธาตุต่าง ๆ เหมาะสำหรับ การปลูกพืชต่าง ๆ คิดจะถมดินแล้ว มีปัจจัยอะไรที่ต้องคำนึงกัน บ้างในการถมดินนั้น สถานที่ที่ต่างกัน ลักษณะของการถมดินที่ต่างกัน ราคาค่าถมดินนั้นก็ย่อมจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายอย่าง เพราะฉะนั้น ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจถมดิน นอกจากท่านจำเป็นต้องคำนึงถึง งบประมาณของท่าน แล้วควรพิจารณา ปัจจัยอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วยดังนี้

1. ชนิดของดิน
1.1 หน้าดิน ชั้น A-horizon : zone of leaching โดยทั่วไปแล้วหน้าดินตั้งแต่ระดับความลึก 0-0.50 ม. บางที่ก็ถึง1.00 ม. มักจะมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์จะมีสีดำคล้ำๆ เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้
1.2 ชั้น B-horizon : zone of accumulation ชั้นดินลึกกว่าชั้น A ลงไป ดินออกสีน้ำตาลๆ มีทรายปน ราคาจะถูกลง เพราะแร่ธาตุในดินจะน้อย ถมที่ดีแต่ไม่เหมาะจะปลูกต้นไม้
1.3 ชั้น C-horizon : partially decomposed parent material ชั้นลึกลงไปมากๆ จนดินออกเป็นสีขาวๆ จะปลูกอะไรไม่ขึ้นเลย แต่นำมาใช้ถมได้ดีเพราะราคาถูกที่สุด
เพราะฉะนั้นในการเลือกดินที่จะถมจึงต้องพิจารณาด้วยว่า ท่านมีความประสงค์ที่จะนำดินไปใช้ประโยชน์อย่างไร และงบประมาณที่มีมากหรือน้อยเท่าใด

2. ลักษณะการถมดิน ถ้าใช้รถตัก-ตักดินแล้วเอามากอง ๆ ไว้ ดินจะดูเต็มเร็วแต่ดินจะไม่แน่น และจะทรุดตัวในภายหลังอย่างมากด้วย (ยิ่งถ้าเป็นงานเหมาถมดิน ควรที่จะต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก ต้องมีคนคอยดูที่หน้างาน) ถ้าถมดินในลักษณะ ถมแล้วใช้รถบรรทุกถอยทับ ดินจะแน่นขึ้น จะได้ดินปริมาณมากและทรุดตัวในภายหลังน้อย อาจจะต้องทำการตกลงว่า จะถมอย่างเดียว หรือบดอัดด้วย ครับ

3. การขนส่งและราคาค่าขนส่ง มักจะเกี่ยวเนื่องกับระยะทาง ระหว่างบ่อดินที่เราซื้อดินมากับสถานที่ที่จะถมดิน ยิ่งไกลก็ยิ่งแพง ยิ่งในเขตตัวเมืองที่รถบรรทุกเข้าถึงได้ลำบาก อาจต้องจ่ายค่าอำนวยความสะดวกในการผ่านทางบ้าง ก็ทำให้ราคาค่าถมดิน แพงขึ้นได้อีก

การขุด

ถ้ามีการขุดระดับต่ำกว่า 2.50 เมตร เพื่อทำห้องใต้ดิน, ทำสระว่ายน้ำ หรือถังเก็บน้ำใต้ดิน จะใช้วิธีตอกเข็มไม้ยาวตลอดแนวการขุดเป็นพืดเพื่อกันดินถล่ม หรือขุดดินปรับเป็นแนวเอียง ถ้าดินมีความเหนียวพอ ก็ไม่ต้องใช้เข็มไม้ตอก ถ้ามีการขุดระดับลึก 5.00 เมตร จะแพงเกินไป เพราะจะต้องใช้แผ่นเหล็ก (Sheet Pile) ตอกเป็นแนวกันดินถล่ม และใช้เครื่องตอกที่เป็นเครื่องกลซึ่งมีราคาแพงมาก

ขั้นตอน การถม และ บดอัดดิน รวมทั้ง เครื่องจักร เครื่องมือมาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไป

ไถ หรือ ตัดต้นไม้ หรือ นำวัชพืชต่างๆ ที่ไม่ต้องการออกไปจากพื้นที่ที่ ต้องการถมดิน เพราะถ้าทิ้งไว้ที่เดิม จะเกิด การผุพังเน่าเปื่อย ทำให้เกิด การทรุดตัว ของดินที่ถม หรือ ทำให้อาคารที่สร้างไว้ด้านบนเกิด การทรุุดตัว และแตกร้าวได้


ขุดดินจากพื้นที่นั้น หรือ นำดินจากที่อื่นมาถม จะต้องตรวจสอบอย่าให้มีวัสดุอื่นปลอมปนมาด้วย

การขุดดินนิยมใช้รถ Backhoe ส่วนการบรรทุกดินมาถมนิยมใช้รถบรรทุก 6 - 10 ล้อขน

เมื่อรถบรรทุกเทดินมารวมกองไว้บริเวณที่ทิ้งดินแล้ว ใช้รถ tractor ไถล้มกอง และ เกลี่ยให้ได้ระดับเป็นชั้นๆ แต่ละชั้น ควรหนาอยู่ ระหว่าง 15 - 20 ซม. ซึ่งแต่ละชั้นเรียกว่า Lift thickness โดยให้ช่างสำรวจ ทำการปักหมุดวางแนวและ กำหนดระดับ ความลึกของดิน ที่จะต้อง ถมและบดอัด แต่ละชั้น

รดน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อเพิ่ม ความชื้น สำหรับ การบดอัดดิน ให้แน่นต่อไป ปริมาณน้ำที่พอเหมาะ จะได้จาก การทำการทดลองในห้องปฏิบัติการทางด้านปฐพีกลศาสตร์ หรือ Soil Mechanics

ทำการบดอัดแต่ละชั้นโดยใช้ Sheepfoot Roller หรือ Tamping Roller เพื่อให้เกิด Shear key ระหว่าง ดินแต่ละชั้น จะมีผลทำให้สามารถ รับแรงดัน ทางด้านข้าง กรณีเป็น คันดิน ที่ใช้สำหรับป้องกันน้ำท่วม หรือ รับแรงผลักตามยาว ได้มากขึ้นกรณีเป็นถนน จำนวนเที่ยวของ การบดอัดว่า รถควรจะวิ่งกี่เที่ยว จึงจะได้ ความแน่นตามต้องการนั้น จะได้ จากการทดลองทำ Test section ก่อนเริ่มลงมือทำงานว่า จะต้องวิ่งกี่เที่ยว จะต้องเพิ่มน้ำตอน เช้า - สาย - บ่าย - เย็น เท่าใดจึงจะ บดอัดดิน เพื่อให้ได้ ความแน่นตามต้องการ

ปาดผิวหน้าให้เรียบโดยใช้ Motor Grader และดำเนินการตรวจสอบหาความหนาแน่นในสนาม หรือ Field Density เพื่อนำไปคำนวณหาค่า % compaction ตามที่ระบุไว้ใน Specification ต่อไป ซึ่งการตรวจสอบหาค่า ความหนาแน่นใน สนาม หรือ Field Density นี้จะต้องทำทุกชั้นของการบดอัด

เมื่อได้ความหนาและ ความแน่นของการบัดอัด แต่ละชั้นแล้ว ให้ดำเนินการ บดอัดดิน ชั้นต่อไปตามขั้นตอนและวิธีการ เดียวกันจนเสร็จงาน

อย่าลืมสถานะของดินที่เกี่ยวข้องกับการขุด การขน และ การบดอัด คือ Bank Volumn , Loose Volumn & Compacted Volumn ดินทั้ง 3 สถานะจะให้ปริมาตรของดินเพื่อนำไปคิดราคางานแตกต่างกัน

--------------------------------------------------------------------------------

 งานฐานราก-เสาเข็ม
รูปแบบของงานเข็มในรูปแบบต่าง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อรับน้ำหนักอาคารบ้านเรือน แตกต่างกันไปตามประเภทของเข็มนั้นๆ ดังนั้น จึงควรมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน หรือรูปแบบของอาคาร
1. เข็มเจาะ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ในกรณีที่จะนำมาใช้กับบ้าน เนื่องจากเทคนิค และวิธีการไม่ยุ่งยากมาก และราคาก็ไม่แพง ดังที่คิด เราใช้เข็มเจาะเมื่อมีความจำเป็นจะต้องตอกเข็มใกล้ๆ กับบ้านของคนอื่น เช่น ห่าง 0.80 เมตร โดยไม่อยากให้บ้าน ข้างเคียง มีปัญหาแตกร้าว ทรุด หรือซอยที่เข้าพื่นที่ก่อสร้าง มีขนาดแคบมากไม่สามารถจะขนส่งเสาเข็มต้นยาวๆ มาตอกได้ จึงจำเป็นจะต้อง ใช้เข็มเจาะ

หลักการของเข็มเจาะก็คือ ใช้การขุดดินผ่านท่อเหล็กกลมกลวง ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตรขึ้นไป แล้วแต่ การรับน้ำหนัก ของอาคาร โดยที่ปลาย 2 ข้างเป็นเกลียวหมุนต่อเนื่องลงไปในดิน เข็มเจาะสำหรับบ้านมักจะลึกโดยเฉลี่ย 21 เมตร (ผลการเจาะสำรวจ ชั้นดินในทางวิศวกรรม โดยปกติชั้นดินทรายที่รับน้ำหนักในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะลึกโดยประมาณ 19-22 เมตร) แล้วก็ตอก ท่อเหล็กกลมลงไปทีละท่อน แล้วขุดดินขึ้นมา ตอกลงไป จนได้ระดับความลึกที่ต้องการ แล้วจึงผูกเหล็ก ตามสเปค หย่อนลงไปในท่อ เทคอนกรีตตามส่วน จากนั้นจึงค่อยๆ ดึงท่อเหล็กขึ้นมาช้าๆ ทีละท่อนจนหมด แล้วจึงปิดปากหลุม รอจนกว่าปูนแห้งก็เป็นอันเสร็จพิธี จะเห็นได้ว่าความสะเทือนที่เกิดขึ้นรอบๆ เข็มเจาะนั้นน้อยกว่าระบบการใช้เข็มตอกลงไป ต่อกันเป็นท่อนๆ จนกว่าจะครบเป็นไหนๆ

2. เข็มกด เป็นการลดความสะเทือนในการตอกเข็มอีกวิธีหนึ่ง และไม่ค่อยยุ่งยากใช้กับโครงสร้างที่ไม่ใหญ่โตหรือรับน้ำหนักมากนัก เช่น โรงรถ กำแพงรั้ว ห้องครัวชั้นเดียว หรืองานเร่งด่วนที่ไม่ต้องการตั้งปั่นจั่น เข็มกดเป็นวิธีการที่ใช้รถแบ็คโฮ ดึงเสาเข็ม คสล. รูปหน้าตัด 6 เหลี่ยม ขนาดยาวต้นละ 6 เมตร มากดโดยใช้แขนเหล็กของรถแบ็คโฮกดลงไป ซึ่งจะไม่มีความสะเทือนกับรอบๆ ข้าง วิธีนี้สะดวกและรวดเร็วแต่ให้ระวังแนวเสาเข็มต้องตั้งให้ตรงแล้วจึงกด ไม่เช่นนั้นเสาจะเบี้ยวหรือหัก หรือทำให้รับน้ำหนัก ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3. เข็มตอก เป็นเข็มที่มีราคาค่อนข้างประหยัด เมื่อเทียบกับเข็มเจาะ สามารถทำงานได้รวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มานาน แต่ข้อเสียคือ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในเวลาตอกมากกว่าเข็มทุกประเภท และเกิดแรงอัดของดินที่เข็มถูกตอกลงไป แทนที่หน้าตัดของเข็ม อาจจะเป็นรูปตัว I หรือสี่เหลี่ยมตัน โดยทั่วไปจะมีขนาดยาวประมาณ 8-9 เมตรต่อท่อน จึงต้องต่อ 2 ท่อน เพื่อให้ได้ระยะความลึก เสาเข็มชนิดนี้ อาจจะทำให้อาคารบ้านเรือน ที่ติดกันแตกร้าว อันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือน นอกจากนั้นการดำเนินการยังต้องใช้พื้นที่ เช่น การติดตั้งปั้นจั่น เข็มที่มีความยาว ก่อให้เกิดความ ไม่สะดวก ในการเคลื่อนย้าย
ดังนั้น จะเห็นว่าเข็มแต่ละประเภท ก็มีข้อดีข้อด้อย ให้ท่านผู้อ่านพินิจพิจารณาตามความเหมาะสม

ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม รับน้ำหนักจากเสาถ่ายสู่เสาเข็ม เราสามารถแบ่งฐานรากเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ฐานรากแผ่ เป็นฐานรากที่แผ่ไปกับพื้น ไม่มีเข็มมารองรับ เหมาะสำหรับดินที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว เช่น บริเวณดินเชิงเขา

2. ฐานรากแบบมีเข็ม ใช้ในบริเวณที่มีสภาพดินอ่อน เช่น กรุงเทพมหานคร ฐานรากชนิดนี้ จะรับน้ำหนักจาก เสาถ่ายลง เสาเข็ม และดิน ตามลำดับ

3. ฐานรากแท่งตอม่อ เป็นฐานคอนกรีตหล่อลึกลงไปในดินหรือน้ำ จนถึงระดับที่ต้องการ ฐานรากชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กับ บ้านพักอาศัย

ในการทำฐานราก ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกใช้ฐานรากตามสภาพของดิน ควรใช้วัสดุก่อสร้างตามแบบ วิศวกรรม โดยเคร่งครัด ไม่ตัดลดขนาด ปูนที่ใช้ทำฐานรากต้องใช้ปูนโครงสร้าง (Portland Cement) ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าปูนฉาบ เพราะหากฐานราก ทรุดตัวแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายแก่บ้าน หรืออาคารทั้งยากต่อการแก้ไขด้วย อัตราส่วนของ ปูน : ทราย : หิน ที่ใช้ในงานฐานราก งานถนน คือ 1 : 2.5 : 4 ควรใช้ปูนโครงสร้างดังที่กล่าวมาแล้ว ตลอดจนมั่นใจว่า หินและทราย มีความสะอาดเพียงพอ

ในขั้นแรกนั้น ควรมีการเทคอนกรีตหยาบทับหน้าดิน ก่อนเทควรมีการทำความสะอาดเสาเข็ม และใช้ไฟเบอร์ตกแต่งเข็ม ให้ได้ระดับ เสียก่อน แล้วเทคอนกรีตหยาบให้เสาเข็มโผล่พ้นคอนกรีตหยาบประมาณ 5 ซม. เพื่อให้มั่นใจว่า ฐานราก ได้นั่งถ่ายแรงลงบน เสาเข็ม การเทคอนกรีตหยาบนั้นก็เพื่อ เป็นท้องแบบวางตะแกรงเหล็กฐานราก หลังจากนั้นใช้ ลูกปูน หนุนตะแกรงเหล็ก ทั้งด้านล่าง และด้านข้าง (ประมาณ 5 ซม.) เพื่อให้ปูนสามารถหุ้มเหล็กได้ทั้งหมด ก่อนการเทควร ทำให้พื้นที่ ที่จะเท มีความชุ่มชื้น ป้องกันดิน ดูดน้ำจากคอนกรีต ซึ่งจะทำให้คอนกรีตลดความแข็งแรงลง อีกทั้งต้องทำ ความสะอาดตรวจเช็ค ให้แน่ใจ ก่อนการเทว่า ไม่มีคราบโคลน หรือคราบปูนทราย ที่หลุดง่ายติดอยู่ ในระหว่างการเท ต้องมีการกระทุ้งคอนกรีตด้วยมือ หรือใช้เครื่องสั่น (Vibrator) ป้องกันไม่ให้ เกิดโพรงหรือ ช่องว่างในเนื้อ คอนกรีต ในฐานราก

 งานโครงสร้างคอนกรีต
รูปแบบของงานเข็มในรูปแบบต่าง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อรับน้ำหนักอาคารบ้านเรือน แตกต่างกันไปตามประเภทของเข็มนั้นๆ ดังนั้น จึงควรมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน หรือรูปแบบของอาคาร
1. เข็มเจาะ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ในกรณีที่จะนำมาใช้กับบ้าน เนื่องจากเทคนิค และวิธีการไม่ยุ่งยากมาก และราคาก็ไม่แพง ดังที่คิด เราใช้เข็มเจาะเมื่อมีความจำเป็นจะต้องตอกเข็มใกล้ๆ กับบ้านของคนอื่น เช่น ห่าง 0.80 เมตร โดยไม่อยากให้บ้าน ข้างเคียง มีปัญหาแตกร้าว ทรุด หรือซอยที่เข้าพื่นที่ก่อสร้าง มีขนาดแคบมากไม่สามารถจะขนส่งเสาเข็มต้นยาวๆ มาตอกได้ จึงจำเป็นจะต้อง ใช้เข็มเจาะ

หลักการของเข็มเจาะก็คือ ใช้การขุดดินผ่านท่อเหล็กกลมกลวง ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตรขึ้นไป แล้วแต่ การรับน้ำหนัก ของอาคาร โดยที่ปลาย 2 ข้างเป็นเกลียวหมุนต่อเนื่องลงไปในดิน เข็มเจาะสำหรับบ้านมักจะลึกโดยเฉลี่ย 21 เมตร (ผลการเจาะสำรวจ ชั้นดินในทางวิศวกรรม โดยปกติชั้นดินทรายที่รับน้ำหนักในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะลึกโดยประมาณ 19-22 เมตร) แล้วก็ตอก ท่อเหล็กกลมลงไปทีละท่อน แล้วขุดดินขึ้นมา ตอกลงไป จนได้ระดับความลึกที่ต้องการ แล้วจึงผูกเหล็ก ตามสเปค หย่อนลงไปในท่อ เทคอนกรีตตามส่วน จากนั้นจึงค่อยๆ ดึงท่อเหล็กขึ้นมาช้าๆ ทีละท่อนจนหมด แล้วจึงปิดปากหลุม รอจนกว่าปูนแห้งก็เป็นอันเสร็จพิธี จะเห็นได้ว่าความสะเทือนที่เกิดขึ้นรอบๆ เข็มเจาะนั้นน้อยกว่าระบบการใช้เข็มตอกลงไป ต่อกันเป็นท่อนๆ จนกว่าจะครบเป็นไหนๆ

2. เข็มกด เป็นการลดความสะเทือนในการตอกเข็มอีกวิธีหนึ่ง และไม่ค่อยยุ่งยากใช้กับโครงสร้างที่ไม่ใหญ่โตหรือรับน้ำหนักมากนัก เช่น โรงรถ กำแพงรั้ว ห้องครัวชั้นเดียว หรืองานเร่งด่วนที่ไม่ต้องการตั้งปั่นจั่น เข็มกดเป็นวิธีการที่ใช้รถแบ็คโฮ ดึงเสาเข็ม คสล. รูปหน้าตัด 6 เหลี่ยม ขนาดยาวต้นละ 6 เมตร มากดโดยใช้แขนเหล็กของรถแบ็คโฮกดลงไป ซึ่งจะไม่มีความสะเทือนกับรอบๆ ข้าง วิธีนี้สะดวกและรวดเร็วแต่ให้ระวังแนวเสาเข็มต้องตั้งให้ตรงแล้วจึงกด ไม่เช่นนั้นเสาจะเบี้ยวหรือหัก หรือทำให้รับน้ำหนัก ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3. เข็มตอก เป็นเข็มที่มีราคาค่อนข้างประหยัด เมื่อเทียบกับเข็มเจาะ สามารถทำงานได้รวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มานาน แต่ข้อเสียคือ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในเวลาตอกมากกว่าเข็มทุกประเภท และเกิดแรงอัดของดินที่เข็มถูกตอกลงไป แทนที่หน้าตัดของเข็ม อาจจะเป็นรูปตัว I หรือสี่เหลี่ยมตัน โดยทั่วไปจะมีขนาดยาวประมาณ 8-9 เมตรต่อท่อน จึงต้องต่อ 2 ท่อน เพื่อให้ได้ระยะความลึก เสาเข็มชนิดนี้ อาจจะทำให้อาคารบ้านเรือน ที่ติดกันแตกร้าว อันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือน นอกจากนั้นการดำเนินการยังต้องใช้พื้นที่ เช่น การติดตั้งปั้นจั่น เข็มที่มีความยาว ก่อให้เกิดความ ไม่สะดวก ในการเคลื่อนย้าย
ดังนั้น จะเห็นว่าเข็มแต่ละประเภท ก็มีข้อดีข้อด้อย ให้ท่านผู้อ่านพินิจพิจารณาตามความเหมาะสม

ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม รับน้ำหนักจากเสาถ่ายสู่เสาเข็ม เราสามารถแบ่งฐานรากเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ฐานรากแผ่ เป็นฐานรากที่แผ่ไปกับพื้น ไม่มีเข็มมารองรับ เหมาะสำหรับดินที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว เช่น บริเวณดินเชิงเขา

2. ฐานรากแบบมีเข็ม ใช้ในบริเวณที่มีสภาพดินอ่อน เช่น กรุงเทพมหานคร ฐานรากชนิดนี้ จะรับน้ำหนักจาก เสาถ่ายลง เสาเข็ม และดิน ตามลำดับ

3. ฐานรากแท่งตอม่อ เป็นฐานคอนกรีตหล่อลึกลงไปในดินหรือน้ำ จนถึงระดับที่ต้องการ ฐานรากชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กับ บ้านพักอาศัย

ในการทำฐานราก ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกใช้ฐานรากตามสภาพของดิน ควรใช้วัสดุก่อสร้างตามแบบ วิศวกรรม โดยเคร่งครัด ไม่ตัดลดขนาด ปูนที่ใช้ทำฐานรากต้องใช้ปูนโครงสร้าง (Portland Cement) ซึ่งจะมีราคาแพงกว่าปูนฉาบ เพราะหากฐานราก ทรุดตัวแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายแก่บ้าน หรืออาคารทั้งยากต่อการแก้ไขด้วย อัตราส่วนของ ปูน : ทราย : หิน ที่ใช้ในงานฐานราก งานถนน คือ 1 : 2.5 : 4 ควรใช้ปูนโครงสร้างดังที่กล่าวมาแล้ว ตลอดจนมั่นใจว่า หินและทราย มีความสะอาดเพียงพอ

ในขั้นแรกนั้น ควรมีการเทคอนกรีตหยาบทับหน้าดิน ก่อนเทควรมีการทำความสะอาดเสาเข็ม และใช้ไฟเบอร์ตกแต่งเข็ม ให้ได้ระดับ เสียก่อน แล้วเทคอนกรีตหยาบให้เสาเข็มโผล่พ้นคอนกรีตหยาบประมาณ 5 ซม. เพื่อให้มั่นใจว่า ฐานราก ได้นั่งถ่ายแรงลงบน เสาเข็ม การเทคอนกรีตหยาบนั้นก็เพื่อ เป็นท้องแบบวางตะแกรงเหล็กฐานราก หลังจากนั้นใช้ ลูกปูน หนุนตะแกรงเหล็ก ทั้งด้านล่าง และด้านข้าง (ประมาณ 5 ซม.) เพื่อให้ปูนสามารถหุ้มเหล็กได้ทั้งหมด ก่อนการเทควร ทำให้พื้นที่ ที่จะเท มีความชุ่มชื้น ป้องกันดิน ดูดน้ำจากคอนกรีต ซึ่งจะทำให้คอนกรีตลดความแข็งแรงลง อีกทั้งต้องทำ ความสะอาดตรวจเช็ค ให้แน่ใจ ก่อนการเทว่า ไม่มีคราบโคลน หรือคราบปูนทราย ที่หลุดง่ายติดอยู่ ในระหว่างการเท ต้องมีการกระทุ้งคอนกรีตด้วยมือ หรือใช้เครื่องสั่น (Vibrator) ป้องกันไม่ให้ เกิดโพรงหรือ ช่องว่างในเนื้อ คอนกรีต ในฐานราก

 งานโครงหลังคา
การเลือกใช้หลังคาในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นอย่างในเมืองไทย มีหลักต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการดังต่อไปนี้
1. หลังคาต้องมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา คือสภาพอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งมีทั้งความร้อนจากแสงอาทิตย์ และความชื้นในอากาศ ดังนั้นการเลือกใช้หลังคา จึงต้องคำนึงถึงความสามารถ ในการป้องกันความร้อน รวมถึงการออกแบบ ระบบการระบายความร้อนใต้หลังคา และการป้องกันความร้อน โดยใช้วัสดุประเภท ฉนวน ที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดี ส่วนกรณี การระบาย ความร้อนใต้หลังคา ควรมีการเจาะช่องลมให้ลมพัดมาเอาความร้อนใต้หลังคาออกจากตัวบ้านออกไปได้สะดวก ไม่เก็บความร้อน จนระบายผ่าน ฝ้าเพดาน สู่ห้องด้านล่าง รูปทรงหลังคาที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเหมาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราคือ หลังคาทรงจั่ว และหลังคาทรงปั้นหยา เพราะสามารถ กันแดดกันฝน ทั้งยังระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดี หลังคาประเภทอื่นก็ใช้ได้ หากมีการแก้ปัญหา เรื่องกันแดดกันฝน และเรื่องการระบายความร้อนใต้หลังคากันอย่างถี่ถ้วน ตลอดจนคำนึงถึง ปัจจัยต่างๆในข้อถัดไป

2. หลังคาต้องมีความสวยงามกลมกลืนกับรูปทรงของบ้าน หลังคาแต่ละประเภทควรมีลักษณะเฉพาะสะท้อนภาพลักษณ์ของเจ้าของบ้านออกมาแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้หลังคาประเภทใดก็ควรดูจาก ลักษณะรูปทรงของบ้าน ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านด้วย

3. หลังคาต้องเหมาะสมกับงบประมาณ หลังคาแต่ละชนิดถึงแม้ว่าในเนื้อที่เท่ากัน แต่ราคาค่าก่อสร้างนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากความยากง่ายในการก่อสร้างที่แตกต่างกันรวมถึงวัสดุที่ใช้มากน้อยต่างกัน โดยจำแนกหลังคาบ้านที่นิยมกันอยู่ทั่วไปจากแบบที่ถูกไปสู่แบบที่แพงที่สุดคือ
- หลังคาแบน (Slab)
– หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean To)
– หลังคาทรงจั่ว (Gable)
- หลังคาทรงปั้นหยา(Hip)
– หลังคาแบบไร้ทิศทาง (Modern Style)

4. ความแข็งแรงทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ,

5. เป็นวัสดุที่มีความสามารถในการทนไฟเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้,

6. เป็นวัสดุที่ไม่เก็บความร้อนและป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ เป็นต้น

ประเภทของหลังคา
ประเภทของหลังคารูปแบบต่างๆ ที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป ซึ่งหลังคาแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ให้ท่านพิจารณาเลือกใช้ ตามความเหมาะสม รูปแบบของหลังคาสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ กันได้ดังนี้

1.หลังคาแบน (Flat Slab) มีลักษณะแบนราบคล้ายกับเป็นพื้นจึงมักถูกใช้เป็นพื้นดาดฟ้า แต่เนื่องจากรับความร้อนมาก และกันแดดกันฝน ไม่ค่อยได้ จึงไม่ใคร่เหมาะกับบ้านเราสักเท่าไร แต่ที่เห็นนำมาใช้กันได้ก็เห็นจะเป็นอาคารตึกแถวหรืออาคารพานิชย์สูงหลายชั้น และอาคารที่ไม่เน้นความสวยงามของรูปทรงหลังคา การก่อสร้างหลังคาประเภทนี้คล้ายๆ กับการก่อสร้างพื้น แต่มีข้อควรทำคือ ควรจะผสมน้ำยากันซึม หรือควรมีวัสดุกันซึมปูทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งทำให้บนพื้นที่หลังคาประเภทนี้ขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้

2.หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean To) เป็นหลังคาที่ยกให้อีกด้านสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด แต่ต้องระวังควรให้หลังคามีองศาความลาดเอียงมากพอ ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทันไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ความชันจากขนาดของหลังคา วัสดุมุงหลังคา และระยะซ้อนของหลังคา เป็นต้น ในกรณีที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่น้ำฝนจะไหลย้อนซึมเข้ามาได้ ก็ควรใช้ความลาดชันมากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้รวดเร็วขึ้น

3.หลังคาแบบผีเสื้อ (Butterfly) หลังคาชนิดนี้ประกอบด้วยหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังหันด้านที่ต่ำกว่ามาชนกัน ไม่ค่อยเหมาะกับ สภาพภูมิอากาศ ที่ฝนตกชุกแบบเมืองไทยสักเท่าไร เนื่องจากต้องมีรางน้ำที่รองรับน้ำฝนจากหลังคาทั้ง 2 ด้าน ทำให้รางน้ำมีโอกาศรั่วซึมได้สูง จึงไม่เป็นที่นิยมสร้างกันมากนัก ยกเว้นอาคารที่ต้องการลักษณะเฉพาะพิเศษที่แปลกตาออกไป

4.หลังคาทรงหน้าจั่ว (Gable Roof) เป็นหลังคาที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทยเรา มีลักษณะเป็นหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังมาชนกัน มีสันสูงตรงกลาง เป็นหลังคาที่มีความสะดวกในการก่อสร้าง สามารถกันแดดกันฝนได้ดี และสามารถระบายความร้อน ใต้หลังคาได้ดีอีกด้วย

5.หลังคาทรงปั้นหยา (Hip Roof) เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝนได้ดีทุกๆด้าน มีความโอ่อ่าสง่างาม แต่หลังคาชนิดนี้มีราคาแพง เนื่องจากเปลืองวัสดุมากกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ ตลอดจนต้องใช้ช่างที่มีฝีมือพอสมควรในการก่อสร้าง เพราะมีรายละเอียดเยอะกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ

6.หลังคาแบบร่วมสมัย (Modern & Contemporary) เป็นหลังคาที่มีรูปทรงทันสมัย แตกต่างจาก 5 แบบข้างต้น และใช้วัสดุที่ทันสมัย ก่อให้เกิดรูปทรงแปลกตา แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนและการรั่วซึมนะ

วัสดุโครงหลังคา
รูปแบบของหลังคาชนิดต่างๆ ฉบับนี้เราจะมาว่ากันถึงวัสดุที่ใช้ทำโครงหลังคา ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในบ้านเรา ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1.โครงหลังคาเหล็ก
โครงหลังคาที่เป็นเหล็กนั้นยังสามารถแยกเป็น โครงหลังคาเหล็กกลม ซึ่งนิยมใช้ในหลังคาที่ต้องการรูปทรงที่แปลกตา ตลอดจนมี ระยะช่วงกว้างของเสามากๆ ส่วนโครงสร้างหลังคาเหล็กอีกประเภทคือ โครงหลังคาที่เป็นเหล็กตัว C ซึ่งมัก จะเป็นเหล็กที่มี ความหนาราวๆ 2.3 มม. เหมาะสำหรับใช้กับกระเบื้องลอนคู่ และความหนาขึ้นมาหน่อยขนาด 3.2 มม. ใช้กับ กระเบื้องโมเนีย นอกจากนี้เหล็กที่ใช้ต้องเป็นเหล็กที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม และจำเป็นต้อง ทาด้วยสีกันสนิม ที่ได้รับมาตรฐานไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
การเว้นระยะโครงเหล็ก สำหรับ การวางแปเหล็กเพื่อรับกระเบื้อง หรือภาษาช่างเรียกว่า “จันทัน” นันควร จะต้องเว้นระยะช่วง ห่างประมาณ 1 - 1.5 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดกระเบื้องที่เราใช้ หากใช้กระเบื้องลอนคู่จันทันก็ห่างหน่อย เพราะมีน้ำหนักเบา แต่หากเป็น กระเบื้องโมเนีย จันทันของท่านก็ชิดกันหน่อย

2. โครงหลังคาไม้เนื้อแข็ง
โครงหลังคาไม้เนื้อแข็งต้องเป็นไม้ที่ได้รับการอบ หรือผึ่งจนแห้ง จะต้องไม่มีร้อยแตกร้าวบิด หรืองอ ต้องเป็นไม้ที่ได้มาตรฐาน ของกรมป่าไม้ นอกจากนี้ควรทาน้ำยากันปลวกอย่างน้อย 2 ครั้ง เพราะปลวกในบ้านเราชุกชุมและขยันเหลือเกิน การขึ้นโครงหลังคา ที่เป็นไม้ ควรใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดหนา 2” x 6” หรือ 2” x 8” ขึ้นอยู่กับการรับน้ำหนัก และความกว้างของอาคารตาม ความเหมาะสม หากอาคารมีช่วงกว้างมาก ควรใช้ไม้ค้ำยันเสริมความแข็งแรง เป็นโครงถัก ที่ภาษาช่างมักเรียกว่า โครงทรัส (Truss) ส่วนระยะการวางจันทันต้องเว้นระยะประมาณ 1 เมตร เนื่องจากการวางจันทัน ระยะที่ถี่จะช่วยลด ความเสี่ยงที่ทำให้ หลังคาแอ่นได้
หลักสำคัญ ในการที่จะเลือกใช้โครงหลังคาไม่ว่าจะเป็นเหล็ก หรือไม้นั้นให้ท่านคำนึงถึงอายุการใช้งานและวัสดุที่ใช้มุงหลังคา เท่านี้ท่าน ก็จะได้โครงหลังคาที่เหมาะกับบ้าน

ส่วนประกอบต่างๆของหลังคามีดังนี้

1. อะเส คือส่วนของโครงหลังคาที่วางพาดอยู่บนหัวเสา ลักษณะคล้ายๆคาน ทำหน้าที่ยึดและรัดหัวเสา และยังทำหน้าที่รับแรงจากโครงหลังคาถ่ายลงสู่เสาอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วในการวางอะแส มักจะวางทางด้านริมนอกของเสา และวางเฉพาะด้านที่มีความลาดเอียงของหลังคา ดังนั้นหลังคามะนิลา (Gable Roof) จะมีอะเสหลักเพียง 2 ด้านในขณะที่หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) จะมีอะเสหลัก 4 ด้าน
2. ขื่อ คือส่วนของโครงสร้างที่ว่าอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกัน กับจันทันทำหน้าที่รับทั้งแรงดึงและยึดหัวเสา ในแนวคานสกัด และช่วยยึดโครงผนัง
3. ดั้งเอก คือส่วนของโครงสร้างที่อยู่ในแนวสันหลังคา โดยวางอยู่บนขื่อตัวฉากตรงขึ้นไป โดยมีอกไก่วางพาดตามแนวสันหลังคาเป็นตัวยึด
4. อกไก่ คือส่วนของโครงสร้างที่วางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับจันทัน
5. จันทัน คือสวนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสา โดยวางพาดอยู่บนอะเสและอกไก่รองรับแป หรือระแนงที่รับกระเบื้องมุงหลังคา จันทันยังแบ่งเป็นจันทันเอกคือ จันทันที่วางอยู่บนหัวเสาและจันทันที่มิได้วางพาดอยู่บนหัวเสา โดยทั่วไปจันทันจะวางทุกระยรประมาณ 1.00 ม. โดยระยะห่างของจันทันขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคาและระยะแปด้วย
6. แปหรือระแนง คือส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนจันทัน รองรับวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆ โดยวางขนานกับแนวอกไก่ เริ่มจากส่วนที่ต่ำสุดไปสู่ส่วนที่สูงสุดของหลังคา
7. เชิงชาย คือส่วนของโครงสร้างที่ปิดอยู่บริเวณปลายจันทัน เพื่อปกปิดความไม่เรียบร้อยของปลายจันทัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ใช้ยึดเหล็กรับรางน้ำและยังทำหน้าที่เป็นแผ่นปิดด้านสกัดของจันทันที่ช่วยกันมิให้ฝนสาดย้อนกลับด้วย
8. ปั้นลม คือส่วนของโครงสร้างที่ปิดไม่ให้เห็นสันกระเบื้องทางด้านหน้าจั่ว และปิดหัวแป จะใช้กับอาคารประเภทมีหน้าจั่วเท่านั้น
9. ไม้ปิดลอน หรือไม้เซาะตามลอนกระเบื้อง เป็นไม้ที่มีลักษณะโค้งตามขนาดลอนของวัสดุมุงหลังคา เพื่อปิดช่องว่างระหว่างปลายกระเบื้องกับเชิงชายกันนกและแมลงเล็ดลอดเข้าไปก่อความรำคาญในบ้านของท่าน
10. ตะเฆ่สัน จะอยู่บริเวณครอบมุมหลังคา ที่ความลาดเอียง 2 ด้านมาบรรจบกัน โดยหันหน้าออกจากกัน โดยมีครอบกระเบื้องและวัสดุมุงอีกที
11. ตะเฆ่ราง เป็นส่วนที่ความลาดเอียงของหลังคาสองด้านมาชนกันเป็นราง ซึ่งบริเวณส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีรางน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจาก หลังคา

วัสดุที่นิยมนำมามุงหลังคากันในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่หลากสีหลายชนิดเลยทีเดียว ที่พบเห็นกันทั่วไปในบ้านเราก็มีดังนี้

1. วัสดุมุงหลังคาชนิดแผ่นกระเบื้อง สามรถแบ่งออกได้เป็น

- กระเบื้องดินเผา เป็นวัสดุธรรมชาติใช้เป็นวัสดุมุงหลังคากันมาแต่โบราณปัจจุบันใช้มุงหลังคาที่ต้องการโชว์หลังคาเช่น บ้านทรงไทย โบสถ์ วิหารกระเบื้องชนิดนี้ใช้มุงหลังคาที่มีความลาดเอียงมากๆ มิฉะนั้นหลังคามีโอกาสจะรั่วได้

- กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงามแต่มีราคาค่อนค้างแพง และมีน้ำหนักมาก ทำให้โครงหลังคาที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา กระเบื้องซีเมนต์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กระเบื้องสี่เหลียมขนมเปียกปูน ขนาดเล็กที่ใช้มุงกับหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 30-45 องศา ส่วนอีกชนิดนั้นเป็นกระเบื้องที่เรียกกันว่า กระเบื้องโมเนียร์ซึ่งสามารถมุงหลังคาในความชันตั้งแต่ 17 องศา

- กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ มีความสวยงามเพราะผิวกระเบื้องมีความเนียนเรียบ

- กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้อง เอสเบสทอสซีเมนต์ กระเบื้องชนิดนี้มีคุณสมบัติกันไฟ และเป็นฉนวนป้องกันความร้อน มีราคาไม่แพงและมุงหลังคาที่มีความลาดชันตั้งแต่ 10 องศากระเบื้องซีเมนต์ใยหินสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามที่พบในท้องตลาดมี 2ชนิดคือ กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็กใช้กับบ้านพักอาศัย ส่วนลูกฟูกลอนใหญ่ใช้กับอาคารขนาดใหญ่ตามสัดส่วนที่รับกันพอดี

- กระเบื้องลอนคู่ระบายน้ำได้ดีกว่ากระเบื้องลูกฟูกเนื่องจากมีลอนที่ลึกและกว้างกว่า จึงนิยมใช้มุงหลังคามากกว่า

2. วัสดุมุงหลังคาโลหะ หรือเรียกกันภาษาช่างว่าหลังคาเหล็กรีด ทำจากแผ่นเหล็กอาบสังกะสีดัดเป็นลอน นิยมใช้ในการมุงหลังคา ขนาดใหญ่เพิ่มสีสันให้กับอาคารสมัยใหม่ แต่วัสดุชนิดนี้มีปัญหาเรื่องความร้อน เนื่องจากหลังคาโลหะกันความร้อนได้น้อยมาก และมีปัญหาเรื่องเสียงในเวลาฝนตก

3. วัสดุประเภทพลาสติกหรือไพเบอร์ที่เป็นแผ่นโปร่งใสทำเป็นรูปร่างเหมือนกระเบื้องชนิดต่างๆ เพื่อใช้มุงกับกระเบื้องเหล่านั้น ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างจากหลังคาเช่นห้องน้ำ เป็นต้น ก็ทราบวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆที่นิยมใช้กันไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนการเลือกใช้นั้นต้องคำนึงถึงลักษณะของหลังคาความลาดเอียงรูปแบบของอาคารบ้านเรือนของท่านตลอดจน ราคาวัสดุค่าโครงหลังคาจะรักจะชอบแบบไหนก็เลือกใช้กันตามความเหมาะสม

4. วัสดุประเภทแผ่นชิงเกิ้ล ซึ่งเป็นประเภทวัสดุสังเคราะห์ เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในบ้านเราโดยเฉพาะอาคารประเภท รีสอร์ทตากอากาศ เพราะเล่นรูปทรงได้หลายรูปแบบ

5. วัสดุมุงประเภทอื่นๆ เช่นวัสดุประเภททองแดงหรือแผ่นตะกั่ว เป็นต้น

เนื่องจากบ้านนั้นจุดเด่นที่สะดุดตาที่สุดก็คือ หลังคา งานหลังคาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ถ้าทำไม่ดีก็มีปัญหารั่วซึม ซึ่งจะลามไป ถึงปัญหาต่าง ๆ อีก แก้ไขกันลำบาก เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรจะเริ่มจาก การเลือกวัสดุมุงหลังคา กันก่อน ก็คงต้องแล้ว แต่รสนิยมของท่าน เมื่อเลือกแล้วก็มาดูความลาดเอียงของหลังคา เนื่องจากวัสดุหลังคา แต่ละประเภทนั้น มีความลาดชันในการมุง ได้ไม่เท่ากันคือ- กระเบื้องซีเมนต์ใยหินใช้มุงความลาดชันตั้งแต่ 10 องศา
- กระเบื้องคอนกรีตรูปสี่เหลียมขนมเปียกปูน ใช้มุงหลังคาความลาดเอียง 30-45 องศา
- กระเบื้องโมเนียร์ ใช้มุงหลังคาความลาดชันตั้งแต่ 17 องศา
- กระเบื้องดินเผา ใช้มุงหลังคาความลาดชันตั้งแต่ 20 องศา

ส่วนหลังคาประเภทอื่นๆ ก็ใช้มุงกันที่ประมาณ 30-45 องศา ในบ้านเมืองร้อนเช่นบ้านเรานั้น การเลือกใช้หลังคา ทีมีความชันมาก จะส่งผลดีต่อการระบายน้ำ และการระบายความร้อนใต้หลังคา

การเลือกวัสดุมุงหลังคาคือ โครงหลังคา เพราะวัสดุมุงที่มีน้ำหนักมาก ก็จะเพิ่มราคาโครงหลังคา ที่จะมารับน้ำหนักวัสดุมุง ให้ท่านได้เหมือนกัน เมื่อได้วัสดุมุงหลังคา และความลาดชันแล้วมาดูระยะลักษณะของการทับซ้อน ระยะและมุมลาดเอียงของหลังคากัน

1. ความลาดชันของหลังคา 10-20 องศาระยะทับซ้อน 20 ซม.
2. ความลาดชันของหลังคา 21-40 องศาระยะทับซ้อน 15 ซม.
3. ความลาดชันของหลังคา 41-60 องศ่าระยะทับซ้อน 10 ซม.
4. ความลาดชันของหลังคา 60 องศาขึ้นไประยะทับซ้อน 5 ซม.

ระยะทับซ้อนดังกล่าวเป็นระยะอย่างน้อย หากมากกว่านี้ก็ไม่ว่ากัน แต่จะทำให้เปลืองวัสดุมุงขึ้นอีก วัสดุที่ใช้สำหรับงานหลังคา อีกชิ้น ก็คือ ครอบหลังคา ก็ควรเลือกง่าย ๆ คือ เลือกครอบหลังคาชนิดเดียวกัน กับกระเบื้องมุงหลังคา ส่วนใหญ่เขาจะผลิตมาคู่กันตามองศา ที่นิยมใช้ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ครอบหลังคา 30, 35, 40 องศา หากเป็นมุงลาดชันอื่น ๆ ก็ใช้ครอบหลังคาปูนปั้น ซึ่งต้องทำตามแบบอย่างเคร่งครัด และก็ไม่ลืมที่จะผสมน้ำยากันซึมด้วย

  งานพื้นคอนกรีต
การก่อสร้างพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปในปัจจุบันนั้นมีโครงสร้างพื้นที่นิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ
พื้นสำเร็จรูป และ พื้นหล่อในที่ สำหรับพื้นสำเร็จนั้นเป็นพื้นที่นิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก และรวดเร็ว ในการก่อสร้าง และมีราคาประหยัด แต่สำหรับพื้นหล่อในที่ ก็ยังจำเป็นต้องใช้ในส่วน ที่เป็นห้องน้ำ หรือส่วนที่ต้องเจาะรูที่พื้น เนื่องจากพื้นสำเร็จรูปไม่นิยม และไม่ควรเจาะรูที่พื้น เพราะอาจทำให้ความแข็งแรง ของแผ่นพื้นลดลงได้ ฉะนั้นในส่วนนี้จึงยัง ต้องใช้พื้นแบบหล่อกับที่ ก่อนที่จะหล่อพื้นห้องน้ำนั้น ควรมีการเลือกสุขภัณฑ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากระยะของท่อต่าง ๆ ของสุขภัณฑ์รุ่นต่าง ๆ นั้น ไม่เท่ากัน ตำแหน่งการฝังท่อ เพื่อเจาะรูที่พื้นสำหรับงานเดินท่อจึงไม่เท่ากันด้วย
พื้นสำเร็จรูป
ในสมัยก่อนเวลาจะก่อสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีขั้นตอนมากมาย ต้องตั้งไม้แบบผูกเหล็กเสริม ทำค้ำยันแล้วค่อยเทคอนกรีต และกว่าจะทำงานขั้นต่อไป ได้ต้องรออีกหลายวัน แต่ในสมัยปัจจุบัน มีการก่อสร้างพื้นโดยใช้พื้นสำเร็จรูป ซึ่งทำให้การก่อสร้าง สะดวกรวดเร็ว และประหยัดมากการใช้งานพื้นสำเร็จรูปมีวิธีการที่สะดวก ง่ายดาย กว่าการหล่อพื้นแบบปกติมาก วิธีการ คือ หล่อคานคอนกรีต เสริมเหล็ก หรือตั้งคานเหล็กเตรียมไว ้แล้วค่อยวาง พื้นสำเร็จรูป พาดเรียง ระหว่างคานแล้ว ดำเนินการ ผูกเหล็กตะแกรง ด้านบนพื้น แล้วเทคอนกรีต ปรับระดับทับหน้า เมื่อคอนกรีต ทับหน้า เซ็ตตัวดีแล้วก็สามารถ ทำผิวพื้นหรือ ใช้งานได้เลย ข้อจำกัด ของพื้นสำเร็จรูป คือไม่สามารถเจาะพื้นได้ ดังนั้น ส่วนที่เป็นงาน ระบบท่อ ที่ต้อง ผ่านพื้นจะต้อง มีการวางแผนและสั่งล่วงหน้าอีกทั้ง พื้นสำเร็จจะมีการรั่วซึมน้ำ ได้ส่วนของบ้านที่เป็นห้องน้ำและระเบียงหรือ พื้นที่ต้องสัมผัสกับน้ำตลอดเวลาจึงไม่ควรใช้พื้นสำเร็จ


พื้นสำเร็จรูปมีมากมายหลายชนิด ให้เลือกใช้ ในบ้านพักอาศัยทั่วไปนั้น นิยมใช้พื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบ ซึ่งใช้ได้ดีในช่วงเสา 3.5 - 4.5 เมตร ในขณะที่ แบบมีรูกลวง (hallow core) นั้นสามารถใช้ในช่วงเสาที่มีความกว้างถึง 6 -15 เมตร นิยมใช้กันใน อาคารขนาดใหญ่ ส่วนพื้นระบบ Post tension คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กชนิดพิเศษ ที่ออกแบบมา ให้สามารถ รับแรงดึง ได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเหล็กชนิดพิเศษนั้น ให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของพื้น ช่วยให้พื้นรับน้ำหนักมากขึ้น การที่มีเหล็กแรงดึงสูงเสริม และดึงอยู่ในพื้นคอนกรีต ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารัดหัวเสา เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้นสู่เสาด้วย แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้กับอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ ไม่ค่อยพบเห็นพื้นชนิดนี้ ในบ้านพักอาศัย เท่าใดนัก เนื่องจากต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างชั้นสูงยุ่งยาก และมีราคาแพงมาก นอกจากกรรมวิธีการทำพื้นบ้านแบบต่าง ๆ แล้ว

ลักษณะการวางพื้นเองก็ยังแบ่งได้ 2 วิธี คือ การวางพื้นถ่ายน้ำหนักบนคาน (slab on beam) และการวางพื้นให้ถ่ายน้ำหนักบนดิน (slab on ground) โดยการวางพื้นบนดินนั้น นิยมทำกันในชั้นที่ติด กับพื้นดินที่ต้องได้รับน้ำหนักมากๆ เช่นบริเวณจอดรถ ลดปัญหา เรื่องการทรุดร้าวของโครงสร้าง และคานได้ เนื่องจากน้ำหนักพื้นทั้งหมดได้ถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงนั่นเอง ในเรื่องการเทพื้นนั้น ควรเทต่อเนื่องให้เสร็จเสียทีเดียว จะเป็นการดีเพราะคอนกรีตจะได้เป็นเนื้อเดียวกัน ตามมาตรฐานแล้ว พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องมีคอนกรีตหุ้มเหล็กเส้นไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร โดยใช้คอนกรีต ที่มีอัตราส่วน ปูน : ทราย : หิน เป็น 1:2:4


วิธีตรวจสอบความแข็งแรงของพื้นกัน คำว่า พื้น ในที่นี้หมายถึง โครงสร้างพื้น ไม่ใช่ วัสดุปูพื้น หากพื้นมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ มักจะปรากฎมีรอยร้าวให้เห็น ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้น และเป็นการบอกให้รู้ว่าโครงสร้างอาคาร หรือบ้านนั้น กำลังจะมีปัญหาอาจจะ ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยเสียแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการแก้ไข จึงควรที่จะตรวจสอบ เพื่อหาทางป้องกัน และแก้ไขกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะเกิดปัญหาลุกลามใหญ่โตกันจนแก้ไม่ทัน

ในการตรวจสอบหาสาเหตุการร้าว หรือทดสอบความแข็งแรงของพื้นนั้นบางครั้ง ก็เป็นเรื่องยากเพราะเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ท่านแทบจะไม่มีทางตรวจสอบองค์ประกอบภายในได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ชนิดเหล็ก ขนาดเหล็ก จำนวนเหล็ก การผูกเหล็ก จึงเป็นการป้องกันที่ดี หากคุณเอาใจใส่ดูแล ในระหว่างการก่อสร้างเป็นอย่างดีตั้งแต่แรก แต่หากไม่แน่ใจในคุณภาพการก่อสร้าง หรือมีรอยร้าวให้เห็นแล้วนั้น ในการตรวจสอบรอยร้าวนั้นก็พอจะทำได้ และวิธีที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ การทดสอบด้วย การเอาน้ำหนักจริงที่โครงสร้างจะต้องรองรับ ( ตามมาตรฐานทางวิศวกรรมที่ได้ออกแบบไว้ )ขึ้นไปวางซึ่งสามารถกระทำได้ 3 วิธีคือ

1. ใช้ถุงปูนวางบนพื้นทดสอบ เพราะปูนแต่ละลูกจะมีน้ำหนักกำกับไว้แน่นอน
2. ใช้ถุงปูนบรรจุทรายวางบนพื้นทดสอบ ต้องคำนวณคร่าวๆว่า ทรายถุงหนักเท่าไร
3. กั้นพื้นบริเวณที่จะทดสอบและใส่น้ำลงไป วิธีนี้นอกจากใช้ทดสอบรอยร้าวแล้วยังทดสอบได้ว่าพื้นมีการรั่วซึมของน้ำหรือไม่

ถึงวิธีตรวจสอบจะมีอยู่ แต่การป้องกันไว้ก่อนด้วยการเอาใจใส่ ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำตั้งแต่ต้น เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ครับ และในการทดสอบความแข็งแรงของพื้น ก็ต้องมีวิศวกรดูแลทุกครั้งด้วย

งานก่อผนังฉาบปูน
ผนัง นั้นเรียกได้ว่าเป็นผิวหนังของบ้าน( skin ) สำหรับผนังภายนอกนั้นคอยปกป้องตัวบ้าน จากความเปลี่ยนแปลงของ อากาศ ร้อนหนาว แดด ลม ฝน ภายนอกบ้าน ส่วนผนังภายในนั้น ทำหน้าที่แบ่งส่วนใช้สอยต่าง ๆ ภายในบ้าน ให้เป็นสัดส่วน ตามการใช้สอย ผนังในบ้านนั้นมีทั้งผนัง ที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง หรือที่เราเรียกว่า ผนังรับน้ำหนัก ( ซึ่งแยกย่อยไปอีก เป็น ผนังรับน้ำหนัก ที่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก และผนังรับน้ำหนัก ที่ใช้การก่ออิฐเต็มแผ่น) ผนังลักษณะนี้ให้นึกภาพง่าย ๆ ว่าเป็นเสาที่ยึดยาวออกไปเป็น ผนังนั่นเอง ผนังชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้างแพงกว่า ผนังปกติสักหน่อย ส่วนผนังอีกประเภท เป็นผนังที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป คือ ผนังที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก หรือมิได้ทำตัวเป็นโครงสร้าง

ส่วนมากเป็นผนังก่อด้วยอิฐ หรืออาจใช้เป็นแผ่นยิปซั่มบอร์ดก็ได้ ตัวผนังเองก็มีหลายชนิด เช่น ผนังก่ออิฐ ผนังหิน ผนังคอนกรีตบล็อก ผนัง Glass Block หรือผนังแก้ว นอกจากนี้ก็ยังมีผนังที่เป็น ผนังกระจก ( curtain wall ) นิยมใช้กันมากในตึกสูง และมีการนำมาใช้กับบ้านพักอาศัยในส่วนที่ ต้องการเปิดมุมมองสู่ภายนอก เช่น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน เป็นต้น ในวิธีการก่อสร้างนั้นผนังแต่ละอย่าง ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามประเภท

กล่าวถึงผนังที่ใช้กันอยู่ทั่วไป นั่นคือ ผนังก่ออิฐ มีสองลักษณะ การก่ออิฐโชว์แนว และ ผนังก่ออิฐฉาบปูน

ผนังก่ออิฐโชว์แนว คือผนังที่มีการก่ออิฐเรียงกัน และไม่มีการฉาบทับ เพื่อต้องการโชว์แนวของอิฐผนังชนิดนี้ จึงไม่มีปูนฉาบหน้า กันความชื้น ดังนั้นในการก่ออิฐโชว์แนวสำหรับผนัง ด้านนอกอาคาร ไม่ควรจะก่อโชว์ทั้งสองด้าน เพราะเวลาฝนตก หรือมีความชื้น เข้ากระทบผนัง น้ำจะซึมเข้าด้านในได้โดยง่าย ข้อควรระวัง อีกประการ ก็คือ อย่าก่อในบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านหรือวิ่งเฉียด (เช่นโรงรถ ข้างถนน เป็นต้น) เพราะหากมีการกระทบให้อิฐโชว์แนวมีรอย การแก้ไขทำได้ยาก ส่วนใหญ่มักต้องทุบผนังทั้งแผงออก และก่อขึ้นใหม่

ผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้น เป็นผนังที่ใช้อิฐก่อขึ้นมา และฉาบทับด้วยปูน เพื่อความเรียบร้อย สำหรับการก่ออิฐในผนังชนิดนี้ จะต่างจาก การก่ออิฐของ ผนังก่ออิฐโชว์แนว เพราะจะต้องก่ออิฐให้ ผิวคอนกรีตมีรอยบุ๋ม ลึกประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เพื่อเวลาฉาบปูน จะได้ยึดเกาะ ผิวคอนกรีตได้แน่นหนา ก่อนฉาบปูนก็ควร ทำความสะอาดผนัง ด้วยไม้กวาด หรือลมเป่า ให้เศษ หรือฝุ่นปูน หลุดออกเสียก่อน และทำการรดน้ำให้ชุ่มเสีย ทิ้งไว้ซักครึ่งนาที ก่อนให้อิฐดูดน้ำให้เต็มที่ ป้องกันไม่ไห้อิฐ ดูดน้ำ ไปจากปูน อันจะก่อให้เกิดการแตกร้าวของผนังได้

สำหรับงานผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นผนังก่ออิฐโชว์แนว หรือผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้นควรตรวจสอบว่า ได้มีการเตรียมเหล็กนวดกุ้ง ยื่นออกมาจากเสา เพื่อยึดประสานระหว่าง เสาและผนังบ้านของท่าน ป้องกันการร้าวของผนัง ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่ง ที่จะป้องกันการร้าวของผนัง โดยเฉพาะผนังทางด้านทิศตะวันตก กับด้านทิศใต้ ที่ได้รับแดดและความร้อนมาก มีการยืดหดมาก และมีโอกาสที่จะแตก (ลายเงา) ได้มาก หากมีงบประมาณเพียงพอเวลาจะฉาบปูน ให้เอาลวดกรงไก่บุที่ผนังเสียก่อน เพราะลวดกรงไก่นี้ จะทำหน้าที่ เป็นตัวยึดป้องกันการแตกร้าวได้ครับ ส่วนผนังด้านที่มีประตู หน้าต่าง หรือช่องเปิด เป็นส่วนประกอบ และทุก ๆ ความสูงของผนัง 3 เมตร ก็อย่าลืมทำเสาเอ็นเสียด้วยนะครับ


นอกจากผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังก่ออิฐโชว์แนวแล้วยังมี ่ ผนังที่เป็นบล๊อคอิฐแก้ว ผนังกระจก และผนังยิปซั่ม หรือผนังเบา

1. ผนังบล๊อคอิฐแก้ว (Glass block) นั้นส่วนใหญ่นิยมใช้ก่อเป็นผนังใน ส่วนที่ต้องการแสงสว่างหรือตกแต่งเพื่อความสวยงาม ในการทำผนังบล๊อคอิฐแก้ว ก็มีข้อควรระวังคล้าย ๆ กับการก่อผนังอิฐโชว์แนว เพราะหากผนังอิฐบล๊อค เกิดการแตกร้าวขึ้นสักก้อน ก็ยากแก่การปรับเปลี่ยนแก้ไข เพราะฉะนั้น การทำผนังก่ออิฐบล๊อค จึงนิยมทำกัน ในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก ในกรณีที่ก่อเป็นพื้นที่ ขนาดใหญ่ ก็ควรมีการทำเสาเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทุก ๆ ระยะห่าง 3 เมตร

2. ผนังกระจก ( Curtain wall ) ด้วยวิทยาการปัจจุบัน เราสามารถพัฒนาการก่อสร้าง จนสามารถนำกระจกมาใช้เป็นผนังได้แล้ว ซึ่งผนังกระจกเหล่านี้จะมีลักษณะการติดตั้งต่าง ๆ กันตามลักษณะ การยึดเกาะของแผ่นกระจก คือ

2.1 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 2 ด้าน (two-side support) ซึ่งมักจะยึดที่พื้น หรือเพดาน ส่วนอีก 2 ด้านที่เหลือปล่อยให้ชิดกับกระจกแผ่นอื่นๆ การยึดติดกระจกแบบนี้จะมีปัญหาเรื่องการแอ่นตัวของกระจก ซึ่งสามารถป้องกันแก้ไขโดยเพิ่มความหนาของกระจก หรือเปลี่ยนการยึดติดกระจกเป็น 3 ด้านหรือ 4 ด้าน ตามความเหมาะสม

2.2 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 3 ด้าน (three-sided support) กระจกจะยึดติดกับกรอบ 3 ด้าน อีกด้านหนึ่งอาจจะวางลอยๆ หรือต่อกับ กระจกแผ่นอื่นๆ ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าแบบแรก

2.3 กระจกยึดติดกับกรอบ 4 ด้าน (four-sided support) เป็นรูปแบบการติดตั้งที่แข็งแรงที่สุด ในการติดตั้งผนังกระจกนั้น ควรหาช่างที่ชำนาญ มาติดส่วนผนัง ที่เป็นกระจกโค้งนั้น ก็สามารถทำได้ครับ เพียงแต่มีราคาแพง และต้องอาศัยความชำนาญ ในการติดตั้งมากเป็นพิเศษ เมื่อเสียหายก็ยาก ในการซ่อมแซม และหามาเปลี่ยนใหม่ครับ เพราะฉะนั้น หากท่านไม่ต้องการ มีปัญหายุ่งยากกับการซ่อมแซมในภายหลัง ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเสีย

3. ผนังยิปซั่มหรือผนังเบา เป็นผนังที่นิยมใช้กันมาก ในปัจจุบัน เพราะมีน้ำหนักเบา ประหยัด และติดตั้งได้รวดเร็ว ในการติดตั้งผนังเบานั้น ต้องคำนึงถึงตำแหน่ง สวิทช์และปลั๊กไฟต่างๆให้ครบถ้วน เพราะหากต้องการ ติดเพิ่มเติมทีหลังนั้นจะมีความยุ่งยากมาก และอาจทำให้เกิด การเสียหาย กับผนังขึ้นได้ ผนังยิปซั่มมี อายุการใช้งานสั้น และมักจะมีปัญหาในเรื่องความชื้น จึงนิยมใช้กับผนังภายใน และผนังตกแต่ง ที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อย ๆ ครับ สำหรับงานผนังที่นับว่า เป็นเปลือกของอาคารนั้น สามารถพิจารณาเลือกใช้ ตามประโยชน์ใช้สอย รสนิยม และความต้องการ ของแต่ละท่านได้ตามสะดวก


 งานสถาปัตยกรรม

งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่ สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความสวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจ ร่วมอยู่ด้วยก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่งในที่นี้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอนอื่น ๆ แล้ว
การเรียงลำดับขั้นตอนในส่วนของงานนี้ ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ งานบางขั้นตอนอาจจะทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำควบคู่กันไปก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม หรือความเหมาะสมของกำลังคนและวัสดุช่วงเวลานั้น ๆ นอกจากงานบางขั้นตอนที่สัมพันธ์กัน ก็จะต้องมีลำดับก่อนหลัง เช่น การบุฝ้าเพดานจะต้องทำหลัง จากการมุงหลังคารวมทั้งการเดินระบบท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟและสายไฟต่าง ๆ ในส่วนที่อยู่เหนือฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อยแล้ว การปูพื้นและบุผนังจะต้องทำหลังจากการเดินท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในส่วนที่ฝังอยู่ภายใต้พื้นพื้นและภายในผนังเสร็จเรียบร้อยแล้ว การติดตั้งดวงโคม จะต้องทำหลังจาก การบุฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อย แล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานตกแต่งเพิ่มเติมในส่วนท้ายอีก ซึ่งอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ และมักจะไม่รวมอยู่
ในขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน เช่น การติดตั้งลูกกรง เหล็กดัด การติดตั้งผ้าม่าน การจัดสวน ฯลฯ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
จากตัวอย่างที่ยกมาตั้งแต่ต้นจะสังเกตเห็นว่างานบางขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั้น การจัดลำดับขั้น ตอน และจังหวะเวลาในการทำงาน อาจสามารถยึดหยุ่นได้ โดยไม่ส่งผลเสียหายแต่ประการใด ในขณะที่งาน บางขั้นตอน ที่มีความสัมพันธ์กัน จะต้องมีการจัดลำดับขั้นตอน และจังหวะเวลาในการทำให้เหมาะสม รวมทั้งการวางแผน การเตรียมการ และการประสานงานต่าง ๆ จะต้องกระทำในช่วงเวลา ที่เหมาะสมเพื่อให้ผลงาน ที่ออกมามีความถูกต้องเป็นไปตามที่ต้องการ เพราะความผิดพลาดบกพร่อง ในขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดก็ตาม โดยเฉพาะขั้นตอนต้น ๆ ย่อมส่งผลเสียหายไปถึงขั้นตอนถัดไปด้วย ยิ่งถ้าปล่อยให้ผิดพลาดล่วงเลยไป การแก้ไขในภายหลังก็ยิ่งกระทำได้ลำบากยิ่งขึ้น จึงควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย

 งานประตู-หน้าต่าง

1. คุณสมบัติไม้ ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพดี เป็นไม้ที่ไม่มีตำหนิไม่มีตาไม้ หรือกระพี้ ไม่มีโพรง รอยแตกร้าว ไม่บิดงอ และข้อบกพร่องอื่น ๆ ต้องเป็นไม้ ที่ผ่านการอบ และผึ่งแห้งดีแล้ว ไม้ที่มีความชื้นเกิน 18 % ห้ามนำมาใช้ในงานถาวร หากมีการยืดหดภายหลัง

2. ไม้ทุกชิ้นที่มองเห็นด้วยตา จะต้องไสและตกแต่งให้เรียบร้อย

3. ไม้ที่นำมาใช้ทำวงกบ กรอบบานประตู หน้าต่าง หรือไม้ประดับตกแต่ง จะต้องไสให้เรียบร้อยทุกด้าน และขัดด้วยกระดาษทราย

4. ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบทั่วไป ซึ่งมิใช่ไม้สำหรับโครงสร้างหลัก อาทิเช่น ไม้สำหรับทำคร่าวผนัง ถ้าแบบ และรายการ มิได้ระบุไว้เป็นไม้เนื้อแข็งแล้วให้ใช้ไม้เนื้ออ่อนได้

5. ขนาดของไม้ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทั้งหมด ยอมให้เสียเนื้อไม้เป็นคลองแลคเกอร์ และเมื่อไสตกแต่งเรียบร้อย พร้อมที่จะประกอบเข้าเป็นส่วนของอาคารแล้ว อนุญาตให้ขนาดไม้ลดลงได้ไม่เกินจากขนาดที่จะได้ระบุต่อไป การหดตัวของไม้ จะต้องไม่ทำให้การรับแรงและรูปโฉมเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นผลเสียต่อวัสดุที่อยู่ติดกัน


ไม้ขนาด 1/2 " 1 " 1 1/2" 2 " 3 " 4" 5" 6 " 8 " 10 " 12 "
ไสตกแต่งแล้วเหลือไม่น้อยกว่า 3/8 " 7/8 " 1 7/8" 2 3/4" 3 5/8" 3 5/8" 4 5/8" 5 5/8" 7 1/2" 9 1/2" 11 1/2"

การติดตั้งประตูไม้

1. ให้ติดตั้งโดยการทำการก่อผนังอิฐ แล้วเทคอนกรีตตั้งเป็นเสาเอ็น หรือ คานเอ็น โดยใช้เคร่าไม้เป็นแบบหล่อ หลังจากนั้นจึงติดตั้งวงกบ เข้ากับ เคร่าไม้ โดยยึดด้วยตะปูเกลียวทุกระยะ 40 ซม.

2. ก่อนติดตั้ง จะต้องตรวจดูความเรียบร้อยถูกต้องของวงกบประตูเสียก่อน ถ้าเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการคดโก่งของวงกบ หรือการชำรุดอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นผลเสียหายแก่ประตูภายหลัง แล้วทำการติดตั้งประตูต่อไปได้
การประกอบไม้วงกบ ให้ใช้วิธีประกอบเดือยเข้ามุม 45 องศา และยึดด้วย ตะปูควง การติดตั้งวงกบไม้ จะต้องได้ฉาก และดิ่ง จะต้องมีการป้องกัน ไม่ให้มุมของวงกบไม้บิ่น หรือเกิดเสี้ยน

3. การติดตั้งบาน อาจต้องมีการตัดแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อให้พอดีกับวงกบประตู และสะดวกในการเปิดปิดและสอดคล้องกัน การทำงานของช่างสี ผู้รับจ้างจะต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยถือระยะเหล่านี้เป็นพื้นฐาน คือ
ด้านบน ควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2-3 มม.
ด้านข้าง ควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2-3 มม.
ด้านล่าง ควรจะห่างจากพื้นประมาณ 5 มม. สำหรับห้องทั่วไป และประมาณ 10 มม. สำหรับห้องน้ำ

- การติดตั้งวงกบอลูมิเนียม
เมื่อวางวงกบอลูมิเนียมบนผนัง จะต้องเว้นช่องว่างไว้ ประมาณ 0.5 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่พอที่ซิลิโคนจะเข้าไปอุดรอย ต่อระหว่างอลูมิเนียมกับขอบปูน เพื่อป้องกันการรั่วซึมจากน้ำ ฝน เพราะถ้าติดตั้งโดยไม่เว้นช่องว่างไว้ เนื้อซิลิโคนก็จะไม่ สามารถแทรกตัวเข้าไปในรอยต่อ ผลที่ตามมาก็คือ น้ำฝนก็จะ รั่วซึมเข้ามาภายในบ้าน มีวิธีแก้ไขก็คือ รื้อออกแล้วติดตั้งใหม่ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
ซิลิโคนเป็นวัสดุคล้ายเยลลี่ มีความยืดหยุ่น เหนียว ทนต่อแรงดึงได้ดี และกันการรั่วซึมได้ ใช้เชื่อมกระจกกับกระจก ในกรณีที่เป็น ผนังกระจกไม่มีกรอบ ก็จะใช้แผ่นกระจกชนกัน แล้วอุดด้วย ซิลิโคน ชนิดนี้จะมีความแข็งแรงสูง มีสีใสมองทะลุกระจกได้
หรือ ใช้เชื่อมกระจกกับ กรอบบาน อลูมิเนียม หรือผนังปูนที่แผ่นกระจกไปชน เพื่อป้องกันการ รั่วซึม

วงกบ PVC. ผลิตจากเนื้อ PVC. ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่บิดงอ เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โครงสร้างภายในจะมีเหล็กเสริม ติดตั้งได้ทั้งผนังไม้ ปูน และโลหะ การเข้ามุมต่างๆ จะใช้ความร้อน สามารถทำให้ประสานกันได้สนิท สวยงาม มีขนาดมาตรฐาน และขนาดตามสั่ง


การติดตั้งอุปกรณ์ประตู

การติดตั้งอุปกรณ์ เช่น กุญแจ ลูกบิด ขอรับ ขอสับ ฯลฯ จะต้องใช้ Template กำหนดที่ที่จะเจาะประตูก่อน แล้วจึงทำการเจาะเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และได้ทดสอบการใช้งานเรียบร้อยแล้วให้ถอดอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกให้หมด (ยกเว้นบานพับ) แล้วนำเก็บลงกล่องบรรจุเดิม ทั้งนี้เพื่อให้ช่างทาสีทำงานได้โดยสะดวก และเมื่อสีที่ทาประตู หรือวงกบแห้งสนิทแล้ว จึงทำการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นใหม่ และทดสอบจนใช้การได้ดีดังเดิม อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กุญแจ ลูกบิด บานพับ

 งานฝ้าเพดาน

1. คุณสมบัติไม้ ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพดี เป็นไม้ที่ไม่มีตำหนิไม่มีตาไม้ หรือกระพี้ ไม่มีโพรง รอยแตกร้าว ไม่บิดงอ และข้อบกพร่องอื่น ๆ ต้องเป็นไม้ ที่ผ่านการอบ และผึ่งแห้งดีแล้ว ไม้ที่มีความชื้นเกิน 18 % ห้ามนำมาใช้ในงานถาวร หากมีการยืดหดภายหลัง

2. ไม้ทุกชิ้นที่มองเห็นด้วยตา จะต้องไสและตกแต่งให้เรียบร้อย

3. ไม้ที่นำมาใช้ทำวงกบ กรอบบานประตู หน้าต่าง หรือไม้ประดับตกแต่ง จะต้องไสให้เรียบร้อยทุกด้าน และขัดด้วยกระดาษทราย

4. ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบทั่วไป ซึ่งมิใช่ไม้สำหรับโครงสร้างหลัก อาทิเช่น ไม้สำหรับทำคร่าวผนัง ถ้าแบบ และรายการ มิได้ระบุไว้เป็นไม้เนื้อแข็งแล้วให้ใช้ไม้เนื้ออ่อนได้

5. ขนาดของไม้ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทั้งหมด ยอมให้เสียเนื้อไม้เป็นคลองแลคเกอร์ และเมื่อไสตกแต่งเรียบร้อย พร้อมที่จะประกอบเข้าเป็นส่วนของอาคารแล้ว อนุญาตให้ขนาดไม้ลดลงได้ไม่เกินจากขนาดที่จะได้ระบุต่อไป การหดตัวของไม้ จะต้องไม่ทำให้การรับแรงและรูปโฉมเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นผลเสียต่อวัสดุที่อยู่ติดกัน


ไม้ขนาด 1/2 " 1 " 1 1/2" 2 " 3 " 4" 5" 6 " 8 " 10 " 12 "
ไสตกแต่งแล้วเหลือไม่น้อยกว่า 3/8 " 7/8 " 1 7/8" 2 3/4" 3 5/8" 3 5/8" 4 5/8" 5 5/8" 7 1/2" 9 1/2" 11 1/2"

การติดตั้งประตูไม้


1. ให้ติดตั้งโดยการทำการก่อผนังอิฐ แล้วเทคอนกรีตตั้งเป็นเสาเอ็น หรือ คานเอ็น โดยใช้เคร่าไม้เป็นแบบหล่อ หลังจากนั้นจึงติดตั้งวงกบ เข้ากับ เคร่าไม้ โดยยึดด้วยตะปูเกลียวทุกระยะ 40 ซม.
2. ก่อนติดตั้ง จะต้องตรวจดูความเรียบร้อยถูกต้องของวงกบประตูเสียก่อน ถ้าเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการคดโก่งของวงกบ หรือการชำรุดอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นผลเสียหายแก่ประตูภายหลัง แล้วทำการติดตั้งประตูต่อไปได้
การประกอบไม้วงกบ ให้ใช้วิธีประกอบเดือยเข้ามุม 45 องศา และยึดด้วย ตะปูควง การติดตั้งวงกบไม้ จะต้องได้ฉาก และดิ่ง จะต้องมีการป้องกัน ไม่ให้มุมของวงกบไม้บิ่น หรือเกิดเสี้ยน

3. การติดตั้งบาน อาจต้องมีการตัดแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อให้พอดีกับวงกบประตู และสะดวกในการเปิดปิดและสอดคล้องกัน การทำงานของช่างสี ผู้รับจ้างจะต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยถือระยะเหล่านี้เป็นพื้นฐาน คือ
ด้านบน ควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2-3 มม.
ด้านข้าง ควรจะห่างจากวงกบประมาณ 2-3 มม.
ด้านล่าง ควรจะห่างจากพื้นประมาณ 5 มม. สำหรับห้องทั่วไป และประมาณ 10 มม. สำหรับห้องน้ำ

- การติดตั้งวงกบอลูมิเนียม
เมื่อวางวงกบอลูมิเนียมบนผนัง จะต้องเว้นช่องว่างไว้ ประมาณ 0.5 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่พอที่ซิลิโคนจะเข้าไปอุดรอย ต่อระหว่างอลูมิเนียมกับขอบปูน เพื่อป้องกันการรั่วซึมจากน้ำ ฝน เพราะถ้าติดตั้งโดยไม่เว้นช่องว่างไว้ เนื้อซิลิโคนก็จะไม่ สามารถแทรกตัวเข้าไปในรอยต่อ ผลที่ตามมาก็คือ น้ำฝนก็จะ รั่วซึมเข้ามาภายในบ้าน มีวิธีแก้ไขก็คือ รื้อออกแล้วติดตั้งใหม่ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
ซิลิโคนเป็นวัสดุคล้ายเยลลี่ มีความยืดหยุ่น เหนียว ทนต่อแรงดึงได้ดี และกันการรั่วซึมได้ ใช้เชื่อมกระจกกับกระจก ในกรณีที่เป็น ผนังกระจกไม่มีกรอบ ก็จะใช้แผ่นกระจกชนกัน แล้วอุดด้วย ซิลิโคน ชนิดนี้จะมีความแข็งแรงสูง มีสีใสมองทะลุกระจกได้
หรือ ใช้เชื่อมกระจกกับ กรอบบาน อลูมิเนียม หรือผนังปูนที่แผ่นกระจกไปชน เพื่อป้องกันการ รั่วซึม

วงกบ PVC. ผลิตจากเนื้อ PVC. ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่บิดงอ เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โครงสร้างภายในจะมีเหล็กเสริม ติดตั้งได้ทั้งผนังไม้ ปูน และโลหะ การเข้ามุมต่างๆ จะใช้ความร้อน สามารถทำให้ประสานกันได้สนิท สวยงาม มีขนาดมาตรฐาน และขนาดตามสั่ง


การติดตั้งอุปกรณ์ประตู

การติดตั้งอุปกรณ์ เช่น กุญแจ ลูกบิด ขอรับ ขอสับ ฯลฯ จะต้องใช้ Template กำหนดที่ที่จะเจาะประตูก่อน แล้วจึงทำการเจาะเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และได้ทดสอบการใช้งานเรียบร้อยแล้วให้ถอดอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกให้หมด (ยกเว้นบานพับ) แล้วนำเก็บลงกล่องบรรจุเดิม ทั้งนี้เพื่อให้ช่างทาสีทำงานได้โดยสะดวก และเมื่อสีที่ทาประตู หรือวงกบแห้งสนิทแล้ว จึงทำการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นใหม่ และทดสอบจนใช้การได้ดีดังเดิม อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กุญแจ ลูกบิด บานพับ

 งานตกแต่งผนัง
ประโยชน์ของผนัง
1. แบ่งพื้นที่ใช้สอยในอาคาร
2. เพิ่มความเป็นสัดส่วน เช่น ห้องน้ำกับห้องนอน
3. ป้องกันผู้ใช้อาคารจากธรรมชาติ เช่น กันฝน แดด แมลง
4. ป้องกันผู้บุกรุก

ประเภทผนัง

ผนังหนัก ต้องมีคานมารับ เช่น ผนังก่ออิฐ

ผนังเบา จะมีคานมารับหรือไม่ก็ได้ โดยผนังเบาใช้กับโครงสร้าง ไม้ เหล็ก คสล.

ส่วนประกอบของผนังเบา
วัสดุ
ไม้แผ่น ขนาด 1/2" x 3" , 1/2" x 6"
ไม้อัด ขนาด 4" x 8" , 1.20 x 2.4m. หนา 4,6,10,15,20 mm.
กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน ( กระเบื้องกระดาษ ) ขนาด 1.20 x 2.40 mm. หนา 6,8 mm.

แผ่นยิปซัม ขนาด 1.20 x 2.40 m ( แผ่นเล็ก ขนาด 0.60 x 0.60 , 0.60 x 1.20 , 1.20 x 1.20 ก็มี เอาไว้ทำฝ้าเพดาน ) ไม่ควรนำไปใช้เป็นผนังภายนอกเพราะจะไม่ทน

แผ่นยิบซัมธรรมดา
แผ่นยิปซัมอลูมิเนียมฟลอยด์
แผ่นยิปซัมทนไฟ
แผ่นยิปซัมทนความชื้น
แผ่นยิปซัมเคลือบผิวพีวีซี (นิยมไว้ทำฝ้า)
แผ่นยิปซัมปรุลาย (นิยมไว้ทำฝ้า)
แผ่นยิปซัมแบ่งออกเป็น
- ขอบเรียบ โดยมากเอาไว้ทำฝ้า
- ขอบลาด มักเอาไว้ทำผนัง เพราะซ้อนรอยต่อได้ ด้วยยิปซัมพลาสเตอร์ และเทปผ้า

บัวเชิงผนัง
ประโยชน์ คือ
1. ปิดรอยต่อผนัง และพื้น
2. ป้องกันผนังเลอะจากการทำความสะอาด บัวจึงมักมีสีเข้มหรือสีเดียวกับพื้น
ใช้ไม้ขนาด 1/2" x 4" , 1/4" x 4"
บัวเชิงผนังที่ดีต้องยุบเป็นแนวเดียวกับผนัง
อาจเป็นไม้หรือกระเบื้องยางก็ได้ พวกแย่ๆจะใช้แค่ทาสีหลอกไว้
ถ้าใหญ่ไปจะทำให้ห้องดูแคบ

ข้อควรคำนึงในการออกแบบผนัง
ควรจะเหมาะกับประโยชน์ใช้สอยและตำแหน่งผนัง
บริเวณผนังด้านนอกควรใช้ไม้แผ่นเพราะโดนความชื้น
ผนังกั้นห้องภายในใช้ไม้อัดหรือยิปซัมก็ได้

ไม้มอบฝ้า (คิ้ว)
ทำหน้าที่คล้ายบัวเชิงผนัง แต่ปิดรอยต่อระหว่างผนังและฝ้าเพดานที่อาจมีช่องไม่เรียบร้อย
ทำให้ห้องดูแคบหรือเตี้ยลงได้
ฝาไม้ตีตามตั้ง ตะปู 1 1/2" ตะปูควง 1 3/4" ฝาไม้ตีตามตั้ง คร่าวไม้ตีตามนอน กันน้ำได้บ้าง

การเข้าไม้ผนัง
1. ตีทับแนว
2. ตีทับแนวสลับ
3. ตีทับแนวชิด
4. ตีเข้าลิ้น
5. ตีบังใบ
6. ตีบังใบเซาะร่องตัววี

 งานปูพื้น
กระเบื้อง ที่ใช้ปูพื้นทั่วไปในท้องตลาดมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กระเบื้องเซรามิคเคลือบ และกระเบื้องยาง ซึ่งเป็น วัสดุสังเคราะห์ กระเบื้องเคลือบ นั้นใน การปูพื้น ต้องเตรียม พื้นคอนกรีต ให้มีผิวหน้าหยาบ เพื่อให้ปูนที่ใช้ใน การปูพื้น กระเบื้อง เกาะยึดติดกับ พื้นผิวเดิม ให้แน่นไม่หลุดร่อน
ส่วนการปูพื้น กระเบื้องยาง นั้นพื้นที่จะป ูนั้นต้องเป็นพื้นขัดมันเรียบ เพราะ กระเบื้องยาง นั้นใช้ กาวยาง เป็นตัวเชื่อมประสาน ระหว่างกระเบื้องและพื้น พื้นผิวที่เตรียมไว้ปูกระเบื้องยางจึงต้องเตรียมให้ได้ระดับ ต้องแห้ง และสามารถที่จะ กันน้ำซึม ได้
ในปัจจุบัน กระเบื้องปูพื้น ในท้องตลาดมีมากมาย หลายประเภทให้ได้เลือกใช้กัน บางชนิดผู้ผลิต ก็ผลิตเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นที่นิยมของท้องตลาด ในขณะที่บางชนิดนั้นผลิตออกมาน้อย บางชนิดก็เลิกผลิตไปแล้วก็มี ฉะนั้นใน การเลือกกระเบื้อง นั้น ต้องระวังปัญหา เรื่องกระเบื้อง ขาดตลาด และ กระเบื้องแตกหักในภายหลัง ในการซื้อ กระเบื้องมาปูพื้นนั้น จึง ควรเผื่อจำนวน กระเบื้องที่ใช้ในกรณีที่ กระเบื้องเสียหาย และการซ่อมแซมในอนาคตไว้ด้วย
อีกเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจคือ กระเบื้องแต่ละแผ่นแต่ละยี่ห้อนั้น จะมีขนาดและความหนาไม่เท่ากัน เวลานำมาปูด้วยกัน ก็ดูไม่ดี ต่างจากที่ฝันไว้ลิบลับ และอาจทำให้พื้นไม่เรียบได้
กระเบื้องปูพื้น นั้นก็มีทั้งกระเบื้อง ที่ใช้ปูพื้นและปูผนัง ซึ่งกระเบื้องที่ใช้ปูผนังนั้นส่วนใหญ่ที่นิยมใช้นั้น มักจะเป็น กระเบื้องผิวมัน แต่กระเบื้องที่ใช้ปูพื้นก็มี 2 ประเภทคือกระเบื้องผิวมัน และกระเบื้องผิวหยาบขึ้นอยู่กับพื้นที่ปูว่าเป็นพื้นประเภทไหน มีลักษณะการใช้งานอย่างไร ถ้าเป็น พื้นห้องน้ำและ ลานซักล้างต้องใช้ กระเบื้องชนิดผิวหยาบ เพราะพื้นส่วนนี้ ต้องโดนน้ำจึงทำให้ลื่น และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าเป็นพื้นภายในตัวบ้านทั่วไปก็อาจใช้กระเบื้องผิวมันครับเพื่อความสวยงาม
ในการปูกระเบื้อง สำหรับบ้านแต่ละหลังนั้น ก็ต้องใช้งบประมาณพอสมควร

การปูพื้นด้วยกระเบื้องเซรามิคส์

ในปัจจุบัน มีผู้นิยมปูพื้นด้วย กระเบื้องเซรามิคส์ มากขึ้น เนื่องจากมีลวดลายต่าง ๆ มากมายให้ได้เลือกใช้ ตลอดจนหาซื้อได้ง่าย แต่กระเบื้องปูพื้นนั้น วิธีปฏิบัติเป็นแนวทางในการปูพื้นกระเบื้องเซรามิคส์ดังนี้

1.ต้องมั่นใจว่า พื้นที่จะปู กระเบื้อง นั้นได้ทำ ความสะอาด เป็นที่เรียบร้อย ไม่มี คราบฝุ่น น้ำมัน รอยสกปรกติดอยู่ ตลอดจนไม่ลืมตรวจเช็ค ระดับพื้น หรือแนวระนาบของผนังที่จะปูถ้าไม่ได้ระดับ หรือระนาบควรตกแต่ง หรือปรับให้ได้แนวที่ต้องการ

2. พื้นที่ที่จะปู กระเบื้อง ต้องแห้ง ไม่มีความชื้น หากเป็นพื้นหรือผนังคอนกรีตนั้น พื้นที่ที่จะ ปูกระเบื้อง ได้ต้องทิ้งไว้ ให้แห้งหลังการเทพื้นหรือฉาบแล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ จนแน่ใจว่าพื้นไม่มีความชื้นแล้ว จึงเริ่มลงมือปูกระเบื้องได้ครับ เพราะหากพื้นที่จะปูกระเบื้อง มีความชื้นอยู่จะมีผล ทำให้แรงยึดกันระหว่าง พื้นและวัสดุปูพื้น อ่อนลง สำหรับ พื้นชั้นล่าง ที่อยู่ติดพื้นดิน ควรรองพื้นด้วย แผ่นพลาสติก และปูนซีเมนต์ผสมทราย ที่จะทำการเทพื้นปรับระดับควรผสมน้ำยากันซึม เพื่อป้องกันความชื้นซึมขึ้นมาตามร่องยาแนว หรือผิวของกระเบื้อง

3. ในการปูกระเบื้อง นั้น ควรเว้นร่องประมาณ 1-3 ม.ม. เพื่อป้องกันปัญหาการโก่งแอ่นหลังจากการปูและใช้งาน ในการปูกระเบื้องในปัจจุบันนั้นมีวัสดุประสานอยู่สองชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ใช้กาวซีเมนต์ หรือปูนซีเมนต์ ตามอัตราส่วน (ยกเว้น การปูกระเบื้อง ทับพื้นเดิม ซึ่งควรใช้กาวซีเมนต์ชนิดพิเศษปู หรือใช้น้ำยา ที่ช่วยเพิ่ม แรงยึดเกาะ ผสมกับกาวซีเมนต์ทั่วไป ไม่ควรใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายเพียงอย่างเดียว) ในการปูพื้นกระเบื้องใหม่ แนะนำให้ใช้ปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากมี ความแข็งแรงทนทาน สามารถยึดเกาะได้ด ีรวมทั้งสะดวกและรวดเร็วกว่า
เมื่อเตรียมการ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงปูกระเบื้องโดย เริ่มปูจาก แนวที่ติดผนัง 1 แนว จัดกระเบื้องให้ลงตัว และตีแนว กระเบื้องที่ผนัง (บรรดาช่างมักจะเรียกกรรมวิธีนี้ว่า ตีปักเต๊า) แล้วปูกระเบื้อง จากพื้นขึ้นไปถึงจุดที่จะหยุดกระเบื้อง 1 แถว เพื่อให้ กระเบื้องลงตัว ไม่เหลือเศษบนและล่าง เสร็จแล้วจึงปูกระเบื้องตามแนวที่วางไว้ครับ

4. เมื่อปูกระเบื้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องทิ้งให้ซีเมนต์แห้งอย่างน้อย 24 ช.ม. แล้วจึงยาแนว โดยปาด ตามแนวเฉียง กับร่องกระเบื้อง เพื่อให้ตัวยาแนว ลงร่องอย่างสม่ำเสมอ(ข้อสำคัญ คือ ต้องไม่ลืมทำ ความสะอาด ร่องระหว่างกระเบื้อง ก่อนการยาแนวนะครับ) เมื่อยาแนวเป็นที่เรียบร้อย ก็ควรที่จะต้องทิ้งพื้นที่ดังกล่าว ไว้ 1 อาทิตย์ก่อน การใช้งาน โดยทำความสะอาดกระเบื้อง หลังจากปุเสร็จแล้ว 24-36 ชั่วโมงและหลังจากพื้นกระเบื้องแห้ง ทำการเช็ดผิวของกระเบื้องอีกครั้ง ด้วยผ้าสะอาด

งานปูพื้นพรม

พรม เป็นวัสดุปูพื้นที่ให้ ความรู้สึกหรูหรา นุ่มนวล สวยงาม ติดตั้งง่าย แต่ดูแลรักษายาก และมีอายุการใช้งานสั้น จึงเหมาะสำหรับ พื้นที่ต้องการเปลี่ยน บรรยากาศบ่อย ๆ ครับ
หากคิดจะเลือกใช้พื้นพรม ในบ้านของท่าน ต้องพึงสังวรไว้ว่า พรมส่วนใหญ่แทบทุกชนิดนั้น เป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย เป็นเชื้อไฟ ได้อย่างดี การปูพรมจึง ควรเลือกปูเป็นจุดๆ ในพื้นที่ที่ต้องการความสวยงามและต้องการเน้นเป็นพิเศษ ไม่ควรปูพรม เป็นพื้นทั่วทั้ง บริเวณบ้าน เพราะพรมของท่าน อาจจะกลายเป็นเชื้อไฟได้อย่างดีเมื่อเกิดอัคคีภัย นอกจากนี้ ในการปูพรม ควรหลีกเลี่ยงส่วนที่มีกิจกรรม ที่ทำให้พื้นเลอะเทอะย่างเช่น ห้องน้ำ ห้องครัว เป็นต้นเพราะ หากพรมเลอะเทอะแล้ว จะยากต่อ การทำความสะอาดเป็นอย่างยิ่ง

ในการปูพรมนั้น ช่างปูพรมต้องดึงให้พรมตึง โดยบริเวณรอบ ๆ ห้องส่วนที่ติดกับผนัง ช่างจะตอกไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่มีเดือยแหลมโพล่ขึ้นมาเพื่อให้พรมยึดเกาะ ป้องกันพรมเคลื่อนที่ และปิดทับเดือยแหลมนี้ ด้วยบัวเชิงผนังอีกที เพื่อปกปิดรอยต่อ ผนังและพื้น และป้องกันไม่ให้ใครเดินมา เหยียบเดือยบนแผ่นไม้นี้ครับ
พรมอีกชนิดที่เริ่มเป็นที่ นิยมกัน และสามารถ หาซื้อกันได้ง่ายขึ้น ในท้องตลาดก็คือ พรมกระเบื้อง หรือกระเบื้องพรม ( carpet tile ) ซึ่งเป็นพรมปูพื้นที่มีลักษณะเป็นชิ้น ๆ คล้ายแผ่นกระเบื้องมาปูต่อ ๆ กัน พรมชนิดนี้มีข้อดีคือ ทำความสะอาดง่าย เมื่อพรมส่วนใดส่วนหนึ่ง สกปรกก็ไม่จำเป็นต้อง ตัดเปลี่ยนใหม่ทั้งผืนแต่สามารถเปลี่ยนได้ โดยเลือกแต่ผืนที่สกปรก มาเปลี่ยนใหม่ แต่สาเหตุสำคัญที่คนส่วนใหญ่ จะไม่คอยใช้กัน เพราะพรมชนิดนี้ยังมี ราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับพรมโดยทั่วไป

 งานบันได
เรื่องของบันได จะเริ่มขั้นแรกอย่างไรตำแหน่งควรวางอย่างไรให้ดูสวยด้วยสง่าภูมิฐาน ไม่ว่าเป็นบันไดแบบโมเดิร์น หรือคลาสสิคก็ตาม บันไดขั้นแรกต้องเป็นลักษณะอย่างไรลูกตั้งลูกนอนควรสูง – กว้างแค่ไหน การเดินการก้าว จึงจะสะดวก เดินขึ้นลงด้วยท่าทางที่สง่าภูมิฐานของท่านเจ้าของบ้าน ราวจับบันได , ราวกันตกบันได ควรมีขนาดเท่าไร ดีไซน์ของราวบันได ก็เป็นจุดเด่นของบันไดเหมือนกัน มิใช่ว่าออกแบบ ทำเสร็จสวยแต่ขึ้นแล้ว ไม่สบาย เดินแล้วเหนื่อย มีลูกตั้งที่สูงไม่เท่ากันเป็นของแถมมาให้เวลาเดินหน้าจะคะมำตกบันไดเอาดื้อๆ สำหรับคนสูงอายุ ก็น่าเป็นห่วงใหญ่ แบบบันไดปกติ เช่น บันไดขึ้นตรง , บันไดตัวยู บันไดตัวเอล หรือบันไดโค้ง

ลักษณะและชนิดของบันได

1. บันไดช่วงเดียว ( single flight / straight flight ) ประหยัดพื้นที่ ในอาคารสาธารณะ สูง 4 m อาคารพักอาศัย สูง 3 m
2. บันไดตรงมีชานพัก
3. บันไดมีชานพักและหักเลี้ยว 90 องศา
4. บันไดมีชานพักและเลี้ยวกลับ ( single dog leg )ให้ความรู้สึกสั้นกว่าบันไดช่วงเดียว
5.บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ( half turn open well )
6. บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ไม่มีชานพัก
7. บันไดโค้ง หรือบันไดพัด
8. บันไดประติมากรรม สวย แต่เปลืองเนื้อที่
9. บันไดเวียน ประหยัดเนื่อที่แต่ใช้งานยาก ใช้ไม่บ่อย
10. บันไดลิง ใช้เป็นทางหนีไฟในโรงงาน ควรมีราวจับ 2 ข้าง สูงไม่เกิน 4 m ใช้เป็นบันไดหลักไม่ได้

การออกแบบบันได มีกฎเกณฑ์ดังนี้

1. ประเภทผู้ใช้งาน หรือประเภทอาคาร
2. หน้าที่ใช้สอย
- เลือกใช้ประเภท ชนิดบันไดให้เหมาะสม
- ขนาดบันไดตามปริมาณการสัญจร
3. ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย
- ขนาดลูกตั้ง ลูกนอน ราวกันตก มือจับ
- ความยาวช่วงบันได ( flight )
- จมูกบันได
- การเลือกใช้วัสดุ โครงสร้าง
4. ถูกต้องตามเทศบัญญัติ
5. ความสะดวก VS ความถูกต้อง
6. ความงาม ให้คิดว่า บันไดเป็นงานศิลปะ 3 มิติ มี 6 ด้าน ต้องพิจารณาความสัมพันธ์แต่ละด้าน
7. ความต้องการพิเศษ
- Sculpture
- ทางสัญจร + ที่นั่ง
- แสดงเอกลักษณ์ เช่น อาคารคนพิการ บันไดจะอยู่ในรูปของ ramp

ข้อควรพิจารณาในการออกแบบบันได
1. ความปลอดภัย
2. การหักกลับของราวบันได
3. ลูกเล่นต่างๆ

ขนาดและส่วนประกอบของบันได
1. ลูกนอน ( tread ) ชั้นเหยียบมีขนาดพอดีเท้า
2. ลูกตั้ง ( บังขั้น , riser ) ยกขึ้นพอดีกับระยะก้าว
3. จมูกบันได ( nosing ) ส่วนยันลูกนอนจากขอบลูกตั้ง
4. ราวบันได ( hand rail ) เป็นที่จับยึด กันตก สูงจากพื้น 80-90 cm หรือเท่ากับระยะมือจับ ขนาดจับ พอดีมือและได้สัดส่วนกับบันได เส้นผ่านศูนย์กลาง 2" , 2 1/2"
5. ลูกกรง เป็นที่จับยึดราวกันตกให้แข็งแรง ออกแบบได้หลากหลาย โปร่ง-ทึบ ตั้ง-นอน
6. แม่บันได เหมือนคานของบันได เป็นโครงสร้างรับลูกตั้งลูกนอนบันไดไม้ มี 2 ลักษณะ
1. บันไดทึบ มีลูกตั้ง + ลูกนอน
2. บันไดลอย ไม่มีลูกตั้ง โดยเอาลูกนอนไปฝากไว้กับแม่บันได หรือวางบนพุกไม้ยึดแม่บันได

บันไดคสล. มี 2 ลักษณะ
1. หล่อกับที่ ( Cast in place concrete stair )
2. หล่อสำเร็จ ( Precast concrete stair ) เหมาะสำหรับทำเป็น module ในปริมาณมากๆ ใช้กับอาคารสูงๆที่ต้องมีบันไดเยอะๆทั้ง 2 ชนิด จะหล่อทั้งช่วงหรือหล่อเป็นส่วนๆมาประกอบก็ได้
ความสัมพันธ์ของขนาดลูกตั้งลูกนอน
1. ผลบวกลูกตั้ง + ลูกนอน ไม่น้อยกว่า 42.5 cm และไม่มากกว่า 45 cm ( ไม่รวมจมูกบันได )
2. 2 เท่าของลูกตั้ง + ลูกนอนไม่น้อยกว่า 60 cm และไม่มากกว่า 62.5 cm

ข้อจำกัดในการออกแบบภายใต้เทศบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522
1.บันไดที่พักอาศัยกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 0.80 m
- 1 ช่วง ( 1 flight ) สูงไม่เกิน 3.00 m
- อาคารสาธารณะ อุตสาหกรรม พาณิชย์ กว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 1.50 m
- 1 ช่วง ( 1 flight ) สูงไม่เกิน 4.00 m
2. บันไดที่พักอาศัย ลูกตั้งสูงไม่เกิน 0.20 m ลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.22 m
- อาคารสาธารณะลูกตั้งสูงไม่เกิน 0.19 mลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.24 m
3. บันไดที่สูงเกินกำหนดจะต้องมีชานพักกว้าง / ยาวไม่น้อยกว่าความกว้างบันได
4. บันไดเวียน ลูกนอนช่วงที่แคบที่สุดต้องไม่ต่ำกว่า 0.10 m
อาคารสูง
- บันไดหนีไฟในอาคารสูง กว้างไม่ต่ำกว่า 0.80 m ชานพักไม่ต่ำกว่า 0.90 m
- มีราวบันได 1 ด้าน
- ลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.22 m ลูกตั้งไม่สูงเกิน 0.20 m
*ห้ามใช้บันไดเวียนเป็นบันไดหนีไฟในอาคารสูง

 งานทาสีอาคาร
การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ
1. สีรองพื้น ( Primer )
หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้

2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า

3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ

4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน

การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน

สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้วสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ีความเข้าใจ แบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้
1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ Emulsion เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย
2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย
3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ
4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ
5. สีอบ ประเภท UV Cure เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ
6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย
7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง
8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น Acrylic ประตู Alloy สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ


แนวคิดในการเลือกใช้สี

สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆ ในการเลือกใช้สี ต้องเลือกใช้สี ที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ การใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้น ต้องเลือกให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตาม ประโยชน์และหน้าที่ เฉพาะของสีโดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น

2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น

3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง

4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น

5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกใช้สีนั้น อันดับแรก ต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อย หนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษ หรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม

ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ
สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย

สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลาเสียความรู้สึกอีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจนมากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสีที่ทาแตกต่างกัน


อาคารบ้านเรือนหลายหลังที่พบว่ามีอาการวิบัติของสีที่ใช้ในการทาบ้าน หรือที่ภาษาชาวบ้านเขามักจะเรียกว่า “สีลอก สีร่อน” จริง ๆ แล้วอาการที่ว่าก็เกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่าง แต่พอจะมีวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียก่อน ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง หลักการข้อแรกคือ ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่า สีกับความชื้นจะไม่ถูกกัน ฉะนั้นถ้ามีสิ่งที่ก่อให้เกิดความชื้น ก็ไม่ควรที่จะลงมือทำอะไรที่เกี่ยวกับสีครับ เช่น ในกรณีหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ช่างสีลงมือทาสีเลยทันที โดยเฉพาะผนังภายนอก หลังจากฝนตกแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 วันหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี เพื่อให้ความชื้นในผนังหมดไปเสียก่อน จึงได้ฤกษ์ลงมือทาสีกันได แต่ถ้าการก่อสร้างของท่านเร่งด่วนจริง ๆ ก็มีสีรองพื้นปูนใหม่ประเภทที่ฉาบเสร็จ 1 วันทาได้เลยครับ เป็นสีผสมผงปูนอย่างหนึ่ง สีชนิดนี้จะทาประมาณ 2-3 รอบ ลักษณะการทาจะเหมือนกับการฉาบปูน (ปูนกาว) บาง ๆ ทับปูนฉาบไปอีกชั้นหนึ่ง แต่หากเป็นสีปกติธรรมดาจะลงมือทาสีได้ หลังจากฉาบและทิ้งไว้ ๑๔ - ๒๘ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาให้เสร็จเสียก่อน จึงจะทาสีได้ ไม่เช่นนั้นสีก็จะเป็นขุย หรือจะลอก ซีดได้

ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ผนังซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการทาสีได้เช่นกัน รอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ไม่ได้ทำเอ็นรอบวงกบ และต่อเอ็นไปเชื่อมส่วนโครงสร้างหลักหรือไม่ได้ ติดลวดตะแกรงที่มุมวงกบ หรืออาจเกิดจาก ฝีมือของช่างฉาบเอง เช่น ฉาบปูนแล้วไม่ได้บ่มน้ำ หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ใช้ฟองน้ำฉาบไล้ผิวแบบผิดวิธี
ถ้าเป็นรอยแคร๊กเล็กๆ ทั้งหลายสามารถ "โป๊ว" ปิดรอยแตก หรือ อาจจะด้วยเนื้อสีเอง โดยการใช้แปรงสีทาปาด ให้เนื้อสีมีความหนา ปิดรอยแตก โดยให้ทาเน้นๆ รอจนกว่าสีจะแห้ง จากนั้นไล่ลูกกลิ้งแบบทาสีทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาตามมาทีหลัง ถ้าแตกเป็น รอยใหญ่ ก็ใช้ปูนยิปซัม (ปูนพลาสเตอร์) อุดเข้าไป แต่ถ้าใหญ่มาก็ ควรสกัดเป็นแนวแล้วฉาบแก้เข้าไปใหม่แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากเนื้อปูนที่ฉาบเข้าไปใหม่นั้นไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับปูนเก่า จึงมีโอกาสหลุดออกมาเป็นแนว เมื่อตึกมันเก่า ถ้ามีงบประมาณพอก็ควร สกัดทั้งผืนแล้วฉาบใหม่อีกที แล้วจึงลงมือทาสี ข้อสำคัญผนังที่จะทาสีนั้นต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น พื้นที่จะทานั้นแห้งนิดไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น และข้อสำคัญที่สุด จะประหยัดอะไร ก็ประหยัดได้แต่อย่าไปประหยัดสีรองพื้น หรือที่ช่างมักเรียกว่า ไพร์มเมอร์ เป็นอันขาด เพราะสีรองพื้น จะทำหน้าที่ทั้งในการยึดเหนียวสีที่ทากับผนัง และยังช่วยไล่ความชื้นจากผนังไม่ให้เข้าไปทำลายสีไม่ให้เกิดการหลุดล่อน


 งานสุขภัณฑ์

1. อ่างล้างหน้า
ประเภทของอ่างล้างหน้าแยกตามการติดตั้ง
- อ่างล้างหน้าแบบแขวนกับผนัง จะยึดขอเกี่ยวรับอ่างล้างหน้าไว้ ที่ผนังซึ่งใน การก่อสร้าง ควรทำคานเอ็น ในบริเวณ ที่จะยึด เพื่อความแข็งแรง
- อ่างล้างหน้าแบบติดตั้งบนเคาน์เตอร์มี 2 แบบ คือ
1. อ่างล้างหน้าแบบฝังในเคาน์เตอร์ มีข้อดีคือ สามารถตกแต่งหน้าเคาน์เตอร์ได้เรียบร้อย และเก็บงานเดินท่อต่าง ๆได้เรียบร้อย แต่มีข้อเสีย คือ ต้องใช้วัสดุปู
หน้าเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และต้องเจาะรูสำหรับการติดตั้งหัวก๊อก และเมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจมีน้ำซึมด้านใน ทำให้เกิดเป็นคราบเขียว
2. อ่างล้างหน้าแบบวางบนเคาน์เตอร์ เป็นแบบที่นิยมโดยทั่วไปการบำรุงรักษาทำได้ง่ายกว่าสามารถถอดซ่อมได้และการติดตั้ง ทำได้ง่ายไม่ต้องเจาะรู สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ

ส่วนประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอ่างล้างหน้าคือ สะดืออ่าง โดยทั่วไปมักจะเป็น แบบจุกยาง ที่มีสายโซ่ร้อย การใช้งานสะดวก แต่อาจเกิดปัญหา การสูญหาย และเมื่อใช้นานๆไปจุกยาง จะเสื่อมและขังน้ำได้ไม่ดี สะดืออ่าง อีกประเภทหนึ่งเป็นแบบ Pop Up คือ มีกล-ไกในการเปิดปิดง่าย และสะดวกแต่มีปัญหา
เรื่องการอุดตัน เนื่องจากเศษผง เส้นผม และฟองสบู่ลงไปจับตัวกันบริเวณก้านของ Pop Up ต้องหมั่น ขจัดเศษสกปรก เหล่านี้บ่อย ๆ นอกจากสะดืออ่าง แล้วยังมีท่อน้ำทิ้งใต้อ่างล้างหน้าที่นอกจาก จะมีคุณสมบัติในการระบายน้ำ แล้วยังเป็นอุปกรณ์กันกลิ่นย้อน และเป็นตัวดักเศษผงไม่ให้ลงไปอุด ตันในท่ออีกด้วย ท่อน้ำทิ้งใต้อ่างมี 2 รูปแบบคือ ท่อน้ำทิ้งแบบกระปุก และท่อน้ำทิ้งแบบ P-Trap (ใช้ต่างกันอย่างไรข้อดี-ข้อเสีย และความสะดวกในการทำความสะอาด)

ปัญหาของการใช้สุขภัณฑ์
สาเหตุและการแก้ไข

1. โถชักโครกแบบ Flush Tank จะต้องหมั่นตรวจสอบดูแลอุปกรณ์ที่อยู่ในถังพักน้ำ ซึ่งมักจะมีปัญหาเช่น ตั้งคันโยก ไว้ต่ำเกินไปแหวนยางเสื่อมทำให้น้ำรั่วหรือมีน้ำไหลตลอดเวลา

2. ปัญหาน้ำขังที่พื้นห้องน้ำ มักเกิดขึ้นและมีสาเหตุจากการไม่ได้ปรับระดับความลาดเอียง ที่พื้นให้ดี ตั้งแต่ขั้นตอน การก่อสร้างหรือมีตำแหน่ง ท่อระบายน้ำ ที่พื้นไม่เพียงพอ เมื่อมีน้ำขัง ที่พื้นจะ ก่อให้เกิดคราบ ตะไคร่ ซึ่งทำให้พื้นลื่น และไม่สะอาดถูกสุขอนามัย การแก้ไขอาจจะต้องแยกพื้นที่ในห้องน้ำเป็นส่วนเปียกและส่วนแห้งอย่างชัดเจน เมื่อทำความสะอาด ก็จะต้องทำให้แห้งทันที

3. ข้อต่อท่อ ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำดีหรือ ท่อ P-Trap ใต้อ่างล้างหน้าอาจหลวมทำให้น้ำหยดซึ่งสิ้นเปลืองน้ำ ดังนั้น จะต้องหมั่น ดูแลรักษา หากพบว่า ข้อต่อท่อ จุดใดมีปัญหาควร รีบซ่อมแซม

4. อ่างล้างหน้ามักมีปัญหาอุดตัน เนื่องจากเศษอาหาร ดังนั้นไม่ควรล้างภาชนะที่มีเศษอาหารในอ่างล้างหน้า หรือหาก จำเป็นจริง ๆ ควรมี ถ้วยกรองเศษ อาคารติดไว้ที่สะดืออ่าง เมื่อล้างภาชนะเสร็จแล้ว ก็นำเศษอาหาร ไปทิ้งใน ถังขยะ

5. ปัญหาเรื่องกลิ่น ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการรักษาความสะอาด หรือ อาจจะมีปัญหาที่ระบบท่อ เช่นบริเวณ ท่อระบายน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่อ่างล้างหน้า ที่สุขภัณฑ์ หรือ ที่พื้นเกิดจาก การไม่ได้ติดตั้ง ถ้วยดักกลิ่นเอาไว้ ทำให้เกิดปัญหากลิ่นย้อนกลับเข้ามา ในห้องน้ำ

6. ชักโครกราดไม่ลง ส้วมเอ่อ ซึ่งอาจเกิดจากประสิทธิภาพ ของระบบบำบัดไม่สอดคล้องกับปริมาณของผู้ใช้ หรือใช้ระบบบำบัดแบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม ซึ่งอาจเกิดปัญหา ส้วมเต็ม การแก้ไขเบื้องต้นอาจทำโดย การเรียก บริการรถสูบส้วม และสังเกตอาการต่อไปอีก สาเหตุของปัญหาเรื่องชักโครกไม่ลง อาจเกิดจาก ไม่มีการติดตั้งท่ออากาศ หรือท่ออากาศ มีการอุดตันหรือมีขนาดเล็กเกินไป

7. การติดตั้งอ่างล้างหน้า จะต้องติดตั้งให้เรียบร้อยแน่นหนา อ่างล้างหน้าแบบแขวนผนัง จะต้องยึดอุปกรณ์ เกี่ยวให้แข็งแรง และคอยตรวจสอบไม่ให้เกิดสนิม ส่วนอ่างล้างหน้าแบบฝังเคาน์เตอร์เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะต้องยึดอ่างกับเคาน์เตอร์ด้วยปูนยาแนว หรือหากปูนยาแนวมีการแตกออก ก็ควรซ่อมแซมได้ง่าย ๆ ด้วยซิลิโคนชนิด Sanitary Silicone ซึ่งมีคุณสมบัติกันชื้นและเชื้อราได้

8. สายของฝักบัวสายอ่อนมักจะหักพับ หรือแตก เนื่องจากการติดตั้งที่ผิดวิธีโดยให้ส่วนที่ปล่อยน้ำดีจากก๊อกหงายขึ้น สายจะพับง่ายและแตก


 งานปะปา

น้ำคือปัจจัยที่สำคัญใน การดำรงชีวิตของมนุษย์ เราสามารถใช้น้ำในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการอุปโภคและบริโภค อาคารบ้าน พักอาศัยก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีการวาง ระบบน้ำประปา มาใช้ในอาคารด้วย ในการนำน้ำมาใช้กับ อาคารบ้านเรือน ทั้งหลาย จะต้องมีการวางระบบที่ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกใน การใช้งานอีกทั้งสะดวกในการบำรุงรักษาอีกด้วย ต้้องคำนึงถึง การจัดวางตำแหน่ง ท่อต่างๆได่แก่ ระบบท่อน้ำดี ระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบท่อน้ำเสีย และ ระบบท่อระบายอากาศ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพ ในการใช้ ตลอดจนอายุการใช้งานที่ยาวนานและเนื่องจากระบบท่อต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้ตามที่ต่างๆเช่นในผนัง พื้น ฝ้าเพดาน ฉะนั้น ก่อนการ ดำเนินการก่อสร้างต้องมีการวางแผนให้ดี เพื่อประโยชน์ในการซ่อมบำรุงในภายหลัง และนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้อง คำนึงถึงอีกมากมาย ดังเช่น
1) จัดเตรียมพื้นที่การเดินท่อทั้งแนวนอน แนวดิ่ง รวมถึงระยะลาดเอียงต่าง ๆ
2) ติดตั้งฉนวนในระบบท่อที่จำเป็นเช่น ท่อน้ำเย็น เพื่อลดความเสียหายจากการรั่วซึม
3) ออกแบบระบบแขวน และรายละเอียดอื่น ๆ ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
4) จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการบำรุงรักษา

ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย

หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ

1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)
เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร

2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)
เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย

ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้


ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ

- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก

- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ

ชนิดถังเก็บน้ำ

1. ถังเก็บน้ำ ค.ส.ล. เป็นถังที่มีความแข็งแรงทนทานสามารถสร้างได้ทั้งแบบอยู่บนดิน และใต้ดิน แต่ทีน้ำหนักมาก การก่อสร้าง ต้องระวังเรื่องการรั่วซึม ดังนั้นต้องทำระบบกันซึมและต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย
2.ถังเก็บน้ำสแตนเลส เป็นถังน้ำสำเร็จรูปโดยใช้โลหะสแตนเลสที่ไม่เป็นสนิม มีความทนทานต่อการใช้งาน นิยมติดตั้งเป็น ถังน้ำบนดิน
3. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เป็นถังเก็บน้ำสำเร็จรูป ใช้วัสดุไฟเบอร์กลาสที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา รับแรงดันได้ดีและไม่เป็นพิษกับน้ำสามารถติดตั้งได้ทั้งบนดินและใต้ดิน
4. ถังเก็บน้ำ PE (Poly Ethelyn) เป็นถังเก็บน้ำที่ใช้วัสดุชนิดเดียวกับที่ใช้ทำท่อน้ำประปา สามารถรับแรงดัน ได้ดีมีน้ำหนักเบา ใช้ติดตั้ง ได้ทั้งบนดินและ ใต้ดิน
5. ถังเก็บน้ำสำเร็จรูปอื่นๆ ในสมัยก่อน นิยมถังเก็บน้ำที่เป็นเหล็กชุบสังกะสี รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ ถังจะผุกร่อนได้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ แล้วนอกจากนั้น ยังมีถังเก็บน้ำแบบโบราณ ที่เคยนิยมใช้มานาน ได้แก่ โอ่งน้ำขนาดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแบบดินเผา และแบบหล่อคอนกรีต

การเลือกและออกแบบถังน้ำจะต้องมีข้อคำนึงถึงคือ

- ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของถังเก็บน้ำ
- ขนาดและจำนวนถังเก็บน้ำจะต้องมีปริมาณน้ำสำรองที่พอเพียงต่อการใช้งาน สำหรับบ้านพักอาศัยจะใช้น้ำที่ ประมาณ 200 ลิตร / คน / วัน
- จะต้องจัดเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งถังเก็บน้ำสำหรับอาคารด้วย
- จะต้องมีความสะดวกสบายในการติดตั้ง การดูแลรักษาและทำความสะอาด
- ระบบท่อที่เชื่อมต่อกับถังเก็บน้ำจะต้องดีมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่น น้ำรั่ว หรือชำรุดเป็นต้น

ชนิดของท่อประปา

- ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี
ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน

- ท่อประปาพีวีซี (PVC.)
ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง

- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC.)
ท่อพีวีซี (PVC.) แบ่งตามชนิดการใช้งาน โดยใช้สี ดังนี้
1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน

วิธีการเดินท่อประปา โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้าน จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ

1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถ ซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญหา แต่จะดูไม่สวยงาม

2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อยและสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว จะซ่อมแซมยาก

- วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน
การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (GAVANIZE) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้ มีคุณสมบัติ พิเศษ ในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่ สำคัญ เมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความ ยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้วจะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดิน


- วิธีการใช้สต๊อปวาล์ว เมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์
โดยทั่วไปการติดระบบประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์วในบริเวณส่วนที่จ่าย น้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้

- วิธีการตรวจสอบระบบประปา
ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์ บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น

 งานป้องกันอัคคีภัย
กฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารที่เป็นอาคารสาธารณะ,อาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงต้องมีข้อกำหนดสำหรับการป้องกันอัคคีภัย ที่หลีกเลี่ยงมิได้เด็ดขาดแต่ใน อาคารพักอาศัยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น คอนโดมิเนียมอพาร์ทเมนท์ ก็จำเป็นต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยตามสมควรไว้ด้วยทั้งนี้เพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยแก่ชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย
การป้องกันอัคคีภัยสามารถกระทำได้ 2 ลักษณะคือ

1. การป้องกันอัคคีภัยวิธี Passive
- เริ่มจากการจัดวางผังอาคารให้ปลอดภัยต่ออัคคีภัย คือการวางผังอาคารให้สามารถป้องกันอัคคีภัยจากการเกิดเหตุสุดวิสัยได้ มีวิธีการได้แก่ เว้นระยะห่างจากเขตที่ดิน เพื่อกันการลามของไฟตามกฎหมาย การเตรียมพื้นที่รอบอาคาร สำหรับเข้าไปดับเพลิง ได้เป็นต้น
- การออกแบบอาคาร คือการออกแบบให้ตัวอาคารมีความสามารถในการทนไฟ หรืออย่างน้อยให้มีเวลาพอสำหรับหนีไฟได้ นอกเหนือจากนั้น ต้องมีการออกแบบที่ทำให้การเข้าดับเพลิงทำได้ง่าย และมีการอพยพคนออกจากอาคารได้สะดวก มีทางหนีไฟที่ดีมีประสิทธิภาพ

2. การป้องกันอัคคีภัยวิธี Active คือการป้องกันโดยใช้ระบบเตือนภัย,การควบคุมควันไฟ,ระบายควันไฟและระบบดับเพลิงที่ดี
- ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัยเป็นระบบ ที่บอกให้คนในอาคารทราบว่า มีเหตุฉุกเฉิน จะได้มีเวลาสำหรับการเตรียมตัวหนีไฟ หรือดับไฟได้มีอุปกรณ์ในการเตือนภัย 2 แบบ คือ อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ (Fire Detector) อันได้แก่อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อีกแบบหนึ่งคืออุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ เป็นอุปกรณ์ที่ให้ ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ ทำการแจ้งเตือนมีทั้งแบบมือดึงและผลัก
- ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ คือระบบที่มีการเก็บกักน้ำสำรอง ที่มีแรงดันพอสมควร และเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้จะสามารถใช้ระบบดับเพลิง ในการดับไฟได้ระบบนี้จะประกอบไปด้วยถึงน้ำสำรองดับเพลิง ซึ่งต้องมีปริมาณสำหรับใช้ดับเพลิงได้1- 2 ชม.และประกอบด้วย ระบบส่งน้ำดับเพลิงได้แก่ เครื่องสูบระบบท่อ แนวตั้งแนวนอน, หัวรับน้ำดับเพลิง, สายส่งน้ำดับเพลิง, หัวกระจายน้ำดับเพลิง นอกจากนี้ยังมีระบบดับเพลิงด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ โดยที่เครื่องที่อยู่บน เพดานห้องจะทำงาน เมื่อมีปริมาณความร้อนที่สูงขึ้น จนทำให้ส่วนที่เป็นกระเปาะบรรจุปรอทแตกออก แล้วน้ำดับเพลิงที่ต่อท่อไว้ ก็จะกระจายลงมาดับไฟ
- เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก ข้างในบรรจุสารเคมีสำหรับดับเพลิงแบบต่าง ๆ ในกรณีที่เพลิงมีขนาดเล็ก ก็สามารถใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหยุดยั้งการลุกลามของไฟได้
- ลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงสำหรับอาคารสูง กฎหมายจะกำหนดให้มีลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงทำงานในกรณีไฟไหม้ โดยแยกจากลิฟต์ใช้งานปกติทั่วไป ซึ่งจะทำให้การผจญเพลิง และการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ระบบควบคุมควันไฟ การสำลักควันไฟเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเหตุไฟไหม้ อาคารจึงต้องมีระบบ ที่จะทำให้มีการชะลอ การแพร่ ของควันไฟ โดยมากจะใช้การอัดอากาศลงไปในจุดที่เป็นทางหนีไฟ, โถงบันได และโถงลิฟต์ โดยไม่ให้ควันไฟลามเข้าไป ในส่วนดังกล่าว เพิ่มระยะเวลาการหนีออกจากอาคาร และมีการดูดควันออกจากตัวอาคารด้วย

 งานระบบสื่อสาร
ระบบโทรศัพท์ แบ่งเป็นระบบภายนอกและภายใน
ระบบโทรศัพท์ภายนอก คือ ระบบที่ใช้เบอร์ โทรศัพท์ ที่ติดต่อกับ เบอร์โทรที่มีตัวเลข 9 หลักทั้งในกรุงเทพปริมณฑลและส่วนภูมิภาค รวมทั้งระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ต่าง ๆ หรือแม้แต่เบอร์โทรศัพท์การให้บริการต่าง ๆ เช่นการสั่งอาหาร. โทรสอบถามเส้นทาง, โทรสอบถาม รายละเอียด อื่น ๆ การใช้โทรศัพท์ ในรูปแบบนี้ จะต้องทำเรื่องขอใช้บริการจาก องค์การโทรศัพท์ และบริษัทเอกชนที่รับ สัมปทานจากรัฐบาล

ระบบโทรศัพท์ภายใน คือ ระบบที่ใช้ติดต่อกันเองภายในบ้าน, อาคาร หรือภายในหน่วยงานระบบนี้ไม่เสียค่าบริการให้กับผู้ให้ บริการ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อุปกรณ์ตามปกติแล้ว ระบบโทรศัพท์ภายใน และภายนอกสามารถเชื่อมต่อกันได้ สามารถโอนสาย หรือพ่วงสาย ให้โทรศัพท์ได้หลายเครื่องตามต้องการ เราสามารถมีเครื่องอำนวยความสะดวก ในการสื่อสารภายในบ้านได้ เช่น ระบบเสียง ตามสาย โดยการ เดินระบบ เครื่องเสียงได้แก่ ไมโครโฟน และลำโพง กระจายเสียงไปในส่วนที่ต้องการระบบเสียงตามสาย อาจไม่ต้องมี ไมโครโฟน สื่อสารก็ได้ แต่อาจเป็นระบบเสียงเรียกแบบดนตรีหรือเสียงกริ่งได้

อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
อินเตอร์เน็ตเป็นระบบการสื่อสาร ที่ทันสมัยและใช้ประโยชน์ได้หลากหลายที่สุด ในปัจจุบันส่วนประกอบที่สำคัญ ในการใช้ ระบบ อินเตอร์เน็ตคือ

1. เครื่องคอมพิวเตอร์
2. ระบบโทรศัพท์
3. โมเด็ม และโปรแกรมใช้งานอินเตอร์เน็ต
4. สิทธิในการใช้อินเตอร์เน็ต หรือชั่วโมงการใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการ หรือ ISP
ในปัจจุบันมีการพัฒนาสายอินเตอร์เน็ต ความเร็วสูงจากสายโทรศัพท์ธรรมดาเป็นสายเคเบิลใยแก้ว มีผลให้การค้นหาข้อมูล และการใช้งานมีความเร็ว เพิ่มขึ้นมาก

การใช้งาน อินเตอร์เน็ต โดยทั่วไปจะต้อง ต่อระบบสายต่างๆ เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร ์ ไม่ว่าจะเป็นสายไฟต่างๆ โดยเฉพาะ สายโทรศัพท์ จะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะข้อมูลต่างๆ ในการใช้อินเตอร์เน็ต จะผ่านมา ทางสายโทรศัพท์เป็นหลัก สำหรับ ระบบ คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ที่มีหลายเครื่องนั้น สามารถเชื่อมต่อระหว่างเครื่องให้ถึงกันได้โดยใช้ระบบ LAN โดยผ่านแม่ข่าย เฉพาะ หรือ Server ซึ่งถือเป็น อินเตอร์เน็ต แบบย่อย อย่างหนึ่งการใช้ระบบ LAN ทั่วๆไป จะต้องเดิน ระบบสายสัญญาณ จากแม่ข่าย ไปยังเครื่อง คอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง ซึ่งจะทำให้มี สายสัญญาณต่างๆ มากมาย การติดตั้งและซ่อมบำรุงทำได้ยาก แต่ในปัจจุบันมี การเชื่อมต่อ ระบบ LAN โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ เรียกกันว่าระบบ WI-FI ซึ่งจะใช้กับคอมพิวเตอร์ Note Book เพราะเป็น คอมพิวเตอร์ที่ต้อง เคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่ต้องมี สายสัญญาณระเกะระกะ ถ้าระบบแม่ข่ายกำลังเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต อยู่ด้วย คอมพิวเตอร์ เครื่องนั้นก็สามารถใช้งาน อินเตอร์เน็ตไปด้วยกันได้เลย

ระบบโทรทัศน์ ที่เราใช้งานตามปกติเป็น การรับสัญญาณภาพ และเสียงจากสถานีเครือข่ายของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ในประเทศ ทางช่อง 3,5,7,9,11 และ ITV นอกจากนี้ ยังมี สัญญาณโทรทัศน์ ที่เก็บค่าชม โดยสัญญาณ จะแพร่มาตาม สายเคเบิล เคเบิลทีวี เป็นการส่งข้อมูลจากต้นกำเนิดผ่าน สายเคเบิลใยแก้ว มาสู่เครื่องรับแต่ละส่วนซึ่งแปรออกเป็นภาพ และเสียงผ่านทาง เครื่องรับโทรทัศน์ และสามารถเชื่อมโยงจาก เครื่องหนึ่งสู่เครื่องหนึ่งได้ เคเบิลทีวีมีข้อดีคือภาพคมชัด มีรายการให้รับชมมาก และหลากหลายรูปแบบ และทันเหตุการณ์ ซึ่งล้วนเป็นรายการ ที่เป็นที่นิยมของผู้รับชมส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมีการพ่วง สัญญาณ โทรทัศน์ จากสถานีปกติทำให้สัญญาณมีความคมชัด เพราะไม่ขึ้นกับสภาพอากาศในการแพร่ภาพ แต่ข้อเสียในการใช้บริการ เคเบิลทีวีคือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนอีกด้วย

 งานรักษาความปลอดภัย
สัญญาณกันขโมยชนิดที่ใช้กันตามบ้านพักอาศัย
ความมั่นคงปลอดภัย เป็นสิ่งที่คนเราทุกคนต้องการ นอกเหนือไปจากความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ ความมั่นคงปลอดภัย ที่แต่ละคน ต้องการอาจมีความแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะห่วงในด้านของ สุขภาพและชีวิต ในขณะที่บางคน อาจจะเป็นห่วงไกลออกไปถึง ฐานะความเป็นอยู่และความมั่นคงใน อนาคตแต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ คงจะเห็นพ้องต้องกัน และยอมรับว่า เป็นความมั่นคงปลอดภัย พื้นฐานที่คน เราต้องการ นั่นก็คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และหนึ่งในบรรดาทรัพย์สินที่อาจถือ ได้ว่า มีค่าที่สุด และ ผูกพันกับชีวิต ความเป็นอยู่ของแต่ละคนในครอบครัวก็คือ บ้าน และทรัพย์สินต่างๆ ภายในบ้าน และเนื่องจาก สภาพความเป็นอยู่ ของคนในสังคมปัจจุบัน มีความกดดันทาง ด้านเศรษฐกิจ และ สภาวะความเป็นอยู่สูง ปัญหาทางด้านสังคม และ ภัยอันตราย จากโจร ผู้ร้าย จึงมีสูงตามไปด้วย ผู้คนจำนวนมาก จึงเริ่มให้ความสำคัญ และหาทางป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงต่อภัยอันตรายดังกล่าว ด้วย เหตุนี้เอง สัญญาณกันขโมย จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท ในการปกป้องชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยใน บ้านจากบรรดาโจรผู้ร้าย หรืออย่างน้อย ก็เพิ่มความอบอุ่นใจ ให้แก่ผู้ใช้ได้ เพราะถึงแม้ว่าการ ติดตั้งสัญญาณกันขโมย จะไม่สามารถรับประกัน ความปลอดภัยได้เต็มที่ แต่ก็น่าจะทำให้โจรผู้ร้าย ต้องใช้ความพยายามมากขึ้น และลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง สัญญาณกันขโมย หรือบางครั้งอาจเรียกว่า
เครื่องกันขโมย หรือเครื่องเตือนภัยอัตโนมัติ สามารถ แบ่งชนิดตามระบบของการทำงานออกได้เป็น 2 ระบบ คือระบบใช้สายไฟและระบบไร้สาย

1. สัญญาณกันขโมยระบบใช้สายไฟ

สัญญาณกันขโมย แบบนี้ เป็นระบบที่ใช้ สายไฟเป็นตัวเชื่อมต่อ การทำงานระหว่างอุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม และ อุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียง ระบบนี้มี ข้อดีคือ ให้ความแน่นอนในการส่งสัญญาณ เนื่องจากเชื่อมต่อด้วยระบบสายไฟ การติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ สามารถวางได้ทุกตำแหน่ง โดยปราศจากอุปสรรค หรือสัญญาณรบกวนต่างๆ บำรุง รักษาง่าย ราคาไม่แพงมาก แต่มีข้อเสียคือ การติดตั้งยุ่งยาก เพราะต้องมีการเดินสายไฟ ยิ่งถ้า เป็นการเดินสายไฟแบบฝังภายในผนัง หรือ อยู่เหนือฝ้าเพดานแล้ว เวลาเกิดปัญหาขึ้น การตรวจสอบ และ แก้ไขจะทำได้ยาก แต่ถ้าเป็นการเดินสายไฟ แบบเดินสายลอย ภายนอก เวลาเกิดปัญหาขึ้นการตรวจ สอบแก้ไขก็สามารถทำได้ไม่ยาก การทำงานของสัญญาณกันขโมย ในระบบนี้ ค่อนข้างเชื่อถือ ได้จึงมีผู้นิยมใช้

2. สัญญาณกันขโมยระบบไร้สาย

สัญญาณกันขโมยระบบนี้มีระบบการทำงานพื้นฐาน และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ คล้าย คลึงกับระบบใช้สายไฟ เพียงแต่ การเชื่อมต่อ การทำงานระหว่าง อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ และ เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม นั้น จะใช้ระบบคลื่นวิทยุแทนเท่านั้น โดยอุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณจะทำหน้าที่เป็นเครื่องส่ง คลื่นวิทยุไปด้วยในตัว เพื่อกระตุ้นให้เครื่องรับสัญญาณ ทำงานเมื่อ มีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น ระบบนี้มีข้อดีคือ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องเดินสายไฟให้ยุ่งยาก เหมาะสำหรับ บ้าน หรือห้องพักอาศัยที่ต้องการ ความสะดวกรวดเร็วและเรียบร้อย แต่ระบบนี้ก็มีข้อเสียคือมีข้อ จำกัดในการวางตำแหน่งของตัวอุปกรณ์ต่างๆ เพราะถ้าวางใน ตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมการส่งและ การรับสัญญาณคลื่นวิทยุ ของอุปกรณ์ต่างๆ อาจถูกรบกวน หรือบดบังทำให้การทำงาน ในบางจุดไม่ ได้ผล ระบบนี้จึงไม่เหมาะสำหรับบ้านขนาดใหญ่ หรืออาคารที่มีหลายชั้น ซึ่งต้องติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ อย่างกระจัดกระจาย การบำรุงรักษาก็ยากกว่า ระบบใช้สาย ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งใช้เป็น พลังงานในการส่งคลื่นวิทยุ ของอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ตามระยะ เวลาที่กำหนด เพราะถ้าเกิดลืม เปลี่ยนปล่อยให้แบตเตอรี่หมดหรืออ่อนกำลังลง เครื่องก็จะไม่ทำงาน อีกทั้งระบบนี้ มีราคา ค่อนข้างสูง จึงมีผู้นิยมใช้สัญญาณกันขโมยระบบนี้ในวงจำกัด

1. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ ( sensor )
อุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ตรวจจับสิ่งผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ และส่งสัญญาณไปยัง เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องควบคุม เพื่อทำการเตือนภัยโดยมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ สวิตช์แม่เหล็ก ( magnetlc contact ) ซึ่งจะติดตั้งบริเวณประตู หรือหน้าต่าง เมื่อเวลาประตูหรือ หน้าต่างถูกงัดหรือเปิดออกสัญญาณ ก็จะดังขึ้น อุปกรณ์ป้องกันการทุบกระจก ( glass break detector ) ซึ่งจะติดตั้งกับกระจกประตู หรือหน้าต่าง การทำงานจะอาศัยการตรวจจับความสั่นสะเทือน เมื่อมี การทุบหรือกรีดกระจก สัญญาณก็จะดังขึ้น เครื่องตรวจจับด้วยแสงอินฟราเรด ( infrared detector ) ซึ่งจะติดตั้งในบริเวณห้อง การทำงาน จะอาศัย การตรวจจับ การเคลื่อนไหว ที่ตัดผ่านลำแสงที่เกิดขึ้น ในบริเวณห้องนั้น เป็นต้น
นอกจากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ พื้นฐานดังกล่าวแล้ว ยังมีการนำเอาอุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณชนิดอื่น เข้ามาใช้ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในด้านอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะ กรณีและความสามารถของระบบ ที่จะยอมรับได้ เช่น เครื่องตรวจจับความร้อนและควันไฟ เมื่อเกิด อัคคีภัยขึ้น เครื่องควบคุมการเปิดและปิดไฟอัตโนมัติ เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เป็นต้น

2. เครื่องรับสัญญาณหรือเครื่องควบคุม ( receiver or control unit )
เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องควบคุมนี้ถือเป็นหัวใจ ในการทำงานของระบบ เพราะจะทำ หน้าที่รับสัญญาณ จาก อุปกรณ์ตรวจจับ สัญญาณ ทุกจุด ควบคุม และประสานการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้สัมพันธ์กัน และ ส่งสัญญาณเตือนภัย ให้ดังขึ้น เมื่อมีสิ่งผิดปกติ เกิดขึ้น การกดรหัสเพื่อปิดหรือเปิด เครื่องตลอดจน การเลือกรูปแบบของการทำงานต่างๆ จะต้องทำที่ส่วนนี้
เครื่องรับสัญญาณ หรือ เครื่องควบคุม ที่มีประสิทธิภาพสูง จะสามารถใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณ ได้มากจุด และหลากหลาย รูปแบบ นอกเหนือจาก อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณหลัก ที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น สามารถใช้กับ เครื่องตรวจจับความร้อน และ ควันไฟ เมื่อเกิด อัคคีภัย สามารถ ใช้กับ เครื่องควบคุมระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน สามารถใช้งานร่วมกับ เครื่องควบคุมระยะไกล สามารถตั้ง เวลาการทำงานของ เครื่องได้โดยอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งสามารถส่งสัญญาณแจ้งเหต ุไปยังสถานี ตำรวจเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น ดังนั้น มูลค่า หรือราคาของ ระบบสัญญาณกันขโมย จึงมักอยู่ที่เครื่องควบคุม นี้เป็นหลัก เวลาจะเลือกซื้อ จึงควรศึกษา และให้ความสนใจ เกี่ยวกับประสิทธิภาพและการทำงานของ ระบบควบคุมนี้เป็นพิเศษ

3. ลำโพงสัญญาณเตือนภัย ( Siren )
ลำโพงสัญญาณเตือนภัยหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไซเรน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณ เสียง เพื่อเตือนภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ ผิดปกติขึ้น การทำงานของไซเรนนี้ จะรับสัญญาณมาจาก เครื่องควบคุม อีกทีหนึ่ง การทำงานของ ไซเรน ที่จะให้ได้ผลดีนั้น ควรอยู่ในตำแหน่งที่ ไซเรน ทำงานแล้ว สามารถ ส่งเสียงดังให้ได้ยินไปไกล และติดตั้งไว้ในจุดที่ผู้บุกรุกจะเข้าไปตัดสายได้ยาก ส่วนการจะเลือก ไซเรน ให้มีความดังระดับใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับทำเล สถานที่ และสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วย ซึ่งอาจมีการทด สอบก่อนเพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสม

4. แบตเตอรี่สำรอง ( Backup Battery )
โดยอาศัยอุปกรณ์หลัก 3 อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ระบบสัญญาณกันขโมยก็สามารถ ทำงานได้ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ ที่เป็นส่วน ควบคุม ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้สายไฟหรือ ระบบไร้สาย จะต้อง ใช้ไฟฟ้าในบ้าน เพื่อเลี้ยงวงจร ในการทำงาน ถ้าไฟฟ้าดับเครื่อง ก็ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้น ระบบสัญญาณกันขโมย โดยทั่วไป จึงจำเป็นต้องมี แบตเตอรี่สำรอง ไว้ ซึ่งจะเป็น แบตเตอรี่ ที่สามารถชาร์จไฟได้ ในตัวเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ในกรณีไฟฟ้าดับ หรือผู้บุกรุกตัดกระแสไฟฟ้าในบ้านสัญญาณกัน ขโมยก็ยังคงทำงานได้ตามปกติ

ในบางครั้ง การดูแลรักษา ของเจ้าของบ้าน อาจไม่เพียงพอและทั่วถึง จำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ มาช่วยทั้ง ในรูปแบบของ ยามรักษาการณ์ หรือ ระบบอัตโนมัติอื่น ๆ

CCTV ระบบโทรทัศน์วงจรปิด

ระบบ CCTV จะม ีอุปกรณ์เป็น กล้องโทรทัศน์ ซึ่งตั้งไว้ตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะส่วนที่ ล่อแหลมต่อ การถูกบุกรุก หรือส่วนที่อาจ เกิด อุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ประตู ทางเข้า, รั้วบ้าน และตามทางเดินต่าง ๆ เมื่อ กล้องส่งสัญญาณ จะมาแสดงผลที่ เครื่องรับ โทรทัศน์ ซึ่งอาจเป็นส่วนที่เป็น จุดรักษาการณ์หลัก ในบ้าน ระบบการแสดงผล มีหลายรูปแบบเช่น กล้องแต่ละตัว จะมี เครื่องรับโทรทัศน์ แสดงตามจำนวนกล้อง หรือมีกล้องหลายตัวแต่มีเรื่องรับเครื่องเดียวโดย การตั้งเวลา แสดงผลสลับหมุนเวียนกันไป วิธีนี้จะทำให้ ยามรักษาการณ์ ไม่ต้องใช้จำนวนมาก บางครั้งอาจ ตั้งระบบให้สามารถ บันทึกเหตุการณ์ ทั้งหมด ลงบนม้วน วีดีโอ เทป ได้เพื่อการใช้ เห็นหลักฐานในการจับกุม หรือหาตัวคนร้ายในภายหลัง

ประตูอัตโนมัติ
ในกรณีที่เราต้องการ ความสะดวกสบาย หรือเป็น การรักษาความปลอดภัย ด้วย อาจใช้ประตูใน ระบบอัตโนมัติ ในการใช้งานได้ โดยเฉพาะส่วนที่ผ่านเข้าออกในจุดสำคัญ มีคนเข้าออกมาก ต้องการ ความสะดวกสบาย หรือ ต้องการ ความปลอดภัย ประตูอัตโนมัติ ที่นิยมใช้มีหลายรูปแบบสามารถสรุปได้ดังนี้

ระบบรีโมทคอนโทรล
- ประตูทางเข้าหน้าบ้าน อาจใช้เป็น ระบบรีโมทคอนโทรล ในการปิด-เปิด ในกรณีที่ไม่ต้องการลงจากรถ ไปเปิดหรือปิดประตู หรือไม่ต้องออกมานอกบ้าน เพื่อเปิดประตูรับแขก

บานเลื่อนอัตโนมัติ
- ประตูทางเข้าหลักที่มีคนเข้าออกมากอาจเป็น บานเลื่อนอัตโนมัติ โดยใช้ เซ็นเซอร์ แสงอินฟราเรด ซึ่งจะทำงาน เมื่อมีคนจะผ่าน เข้าออก นิยมใช้กับอาคารสาธารณะ เช่น ธนาคารห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

สวิทช์ปิด-เปิดในห้อง
- ประตูห้องบุคคลสำคัญ มีสวิทช์ปิด-เปิดจากในห้อง ซึ่งจะเปิดให้เข้าได้เมื่อคนในห้องกดสวิทช์อนุญาตเท่านั้น

คีย์การ์ด
- ประตูที่ต้องใช้ คีย์การ์ด หรือต้องป้อนรหัสผ่านเข้าออก เช่นประตูห้องโรงแรม ,ประตูทางเข้าคอนโดมิเนียม,อพาร์ทเมนท์ หรือประตูทางเข้าห้อง นิรภัยต่างๆ

ระบบป้องกันอัคคีภัย

กฎหมายกำหนดไว้ว่า อาคารที่เป็น อาคารสาธารณะ อาคารขนาดใหญ่ และ อาคารสูง ต้องมีข้อกำหนด สำหรับการป้องกันอัคคีภัย ที่หลีกเลี่ยงมิได้เด็ดขาด แต่ใน อาคารพักอาศัยทั่วไป ไม่ว่า จะเป็นขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ ก็จำเป็นต้องมี ระบบป้องกันอัคคีภัย ตามสมควรไว้ด้วยทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยแก่ชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย

การป้องกันอัคคีภัยสามารถกระทำได้ 2 ลักษณะคือ

1. การป้องกันอัคคีภัยวิธี Passive

- เริ่มจาก การจัดวางผังอาคาร ให้ปลอดภัยต่อ อัคคีภัย คือ การวางผังอาคาร ให้สามารถ ป้องกันอัคคีภัย จากการเกิดเหตุสุดวิสัยได้ มีวิธีการได้แก่ เว้นระยะห่างจากเขตที่ดิน เพื่อกันการลาม ของไฟตามกฎหมาย การเตรียมพื้นที่ รอบอาคาร สำหรับเข้าไป ดับเพลิง ได้เป็นต้น

- การออกแบบอาคาร คือ การออกแบบ ให้ตัวอาคาร มีความสามารถในการทนไฟ หรืออย่างน้อยให้มีเวลาพอสำหรับหนีไฟได้ นอกเหนือจากนั้น ต้องมีการออกแบบที่ทำให้การเข้าดับเพลิง ทำได้ง่ายและมีการอพยพคน ออกจากอาคาร ได้สะดวก มีทางหนีไฟ ที่ดีมีประสิทธิภาพ

2. การป้องกันอัคคีภัยวิธี Active
คือการป้องกันโดยใช้ ระบบเตือนภัย, การควบคุมควันไฟ, ระบายควันไฟ และ ระบบดับเพลิง ที่ดี

- ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัย เป็นระบบ ที่บอกให้คนในอาคารทราบว่า มีเหตุฉุกเฉิน จะได้มีเวลาสำหรับ การเตรียมตัวหนีไฟ หรือดับไฟได้ มีอุปกรณ์ในการเตือนภัย 2 แบบ คือ อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ (Fire Detector) อันได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อีกแบบหนึ่งคือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ เป็นอุปกรณ์ ที่ให้ผู้พบ เหตุเพลิงไหม้ ทำการแจ้งเตือนมีทั้งแบบมือดึงและผลัก

- ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ คือระบบที่มีการเก็บกักน้ำสำรอง ที่มีแรงดันพอสมควร และเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ จะสามารถใช้ระบบดับเพลิง ในการดับไฟได้ระบบนี้ จะประกอบไปด้วยถึงน้ำสำรองดับเพลิง ซึ่งต้องมีปริมาณสำหรับใช้ดับเพลิงได้ 1- 2 ชม.และประกอบด้วย ระบบส่งน้ำดับเพลิงได้แก่ เครื่องสูบระบบท่อ แนวตั้งแนวนอน, หัวรับน้ำดับเพลิง, สายส่งน้ำดับเพลิง, หัวกระจายน้ำดับเพลิง นอกจากนี้ยังมีระบบดับเพลิง ด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ โดยที่เครื่องที่อยู่บน เพดานห้อง จะทำงานเมื่อมีปริมาณความร้อนที่สูงขึ้น จนทำให้ส่วนที่เป็น กระเปาะบรรจุปรอทแตกออก แล้วน้ำดับเพลิงที่ต่อท่อไว้ก็จะกระจายลงมาดับไฟ

- เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก ข้างในบรรจุสารเคมีสำหรับดับเพลิงแบบต่าง ๆ ในกรณีที่เพลิงมีขนาดเล็ก ก็สามารถใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหยุดยั้งการลุกลามของไฟได้

- ลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิง สำหรับอาคารสูง กฎหมายจะกำหนดให้มีลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิง ทำงานในกรณีไฟไหม้ โดยแยกจากลิฟต์ใช้งานปกติทั่วไป ซึ่งจะทำให้การผจญเพลิง และการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

- ระบบควบคุมควันไฟ การสำลักควันไฟเป็นสาเหตุหลัก ของการเสียชีวิต ในเหตุไฟไหม้ อาคารจึงต้องมีระบบ ที่จะทำให้มี การชะลอ การแพร่ของควันไฟ โดยมาก จะใช้การอัดอากาศ ลงไปในจุดที่เป็นทางหนีไฟ, โถงบันได และโถงลิฟต์ โดยไม่ให้ควันไฟ ลามเข้าไป ในส่วนดังกล่าว เพิ่มระยะเวลาการหนีออกจากอาคาร และมีการดูดควันออกจากตัวอาคารด้วย





สาระน่ารู้เรื่องบ้าน

พิธีขึ้นเสาเอกเสาโท (พ่อ แม่)
พิธีขึ้นเสาเอกเสาโท (พราหมณ์) article
พิธีขึ้นเสาเอกเสาโท (พระสงฆ์) article
หลังคาบ้าน
10ข้อดีสร้างบ้านกับเรา
วิธีเลือกแบบบ้าน
สร้างบ้านอย่างไรงบไม่บานปลาย
รู้ทันช่าง รับสร้างบ้าน
การรื้อถอน และการสร้างบ้าน
วิธีเลือกบริษัทรับสร้างบ้านและออกแบบบ้าน
ความรู้เรื่องบ้าน
พิธีตั้งเสาเอก article
เทคนิคบ้านประหยัดพลังงาน



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท โอ.เอ็ม.โฮม แอนด์ ดีไซน์ จำกัด
ที่อยู่ :  เลขที่ 47 / 72 หมู่ 5 ตำบล :  ลำโพ อำเภอ : บางบัวทอง
จังหวัด :นนทบุรี     รหัสไปรษณีย์ : 11110
เบอร์โทร :  02-158-4543     มือถือ :  081-113-9555
อีเมล : homethaidd@hotmail.com
เว็บไซต์ : www.homethaidd.com

 

<